การศึกษาต้นทุน จุดคุ้มทุน และราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ขนมจีนกึ่งสำเร็จรูป

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ต้นทุน จุดคุ้มทุน และการกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนมจีนกึ่งสำเร็จรูปที่เหมาะสมในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ ประธานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 3 คน ผู้บริโภค จำนวน 30 คน และวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีทีมนักวิจัย 2 คน นักศึกษา 9 คน สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3 คน ร่วมปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมจีนและน้ำยาขนมจีนกึ่งสำเร็จรูป (ต้นแบบ) พร้อมทั้งจดบันทึกรายการต้นทุน เพื่อคำนวณต้นทุน จุดคุ้มทุน และกำหนดราคา ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนรวมเท่ากับ 40.93 บาท แยกเป็นต้นทุนผันแปรต่อหน่วยคือ 40.82 บาท คิดเป็น 99.73 % และต้นทุนคงที่ต่อหน่วยเท่ากับ 0.11 บาท คิดเป็น 0.27 % การกำหนดราคาจำหน่ายในรูปแบบการตั้งราคามุ่งที่ต้นทุน โดยบวกกำไรที่ต้องการ 30% ราคาจำหน่ายต่อหน่วย เท่ากับ 53.20 บาท แต่หากกำหนดราคาตามหลักจิตวิทยา โดยการตั้งราคาแบบเลขคี่ที่ดึงดูดใจลูกค้า ก็สามารถกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ได้ในราคา 59 บาทและผู้บริโภคมีแรงจูงใจ ตัดสินใจซื้อมากขึ้นเมื่อได้รับการลดราคาเป็น 2 กล่อง 100 บาท ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุน 382 หน่วย แต่หากธุรกิจมีการลดราคาเหลือหน่วยละ 50 บาทเพื่อสร้างแรงจูงใจในการซื้อจากผู้บริโภค ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุนจะเท่ากับ 757 หน่วย และมีอัตราผลกำไรเท่ากับ 22.16 %

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alnasser, N., Shaban, O.S & Al-Zubi, Z. (2014). The Effect of Using Break-Even-Point in Planning, Controlling, and Decision Making in the Industrial Jordanian Companies. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences. 4(5): 625-636.

Batkovskiy, A. M., Semenova, E. G., Trofimets, E. N., Trofimets, V. Ya. & Fomina, A. V. (2017). Statistical simulation of the break-even point in the margin analysis of the company. Journal of Applied Economic Sciences, Romania: European Research Centre of Managerial Studies in Business Administration. 2(48): 558-570.

Chaiprakong, T. & Kornlert, P. (2018). Study and Analysis of Cost, Volumn and Profit on Cotton Hand Weaving Products: A Case Study of Ban Nong Ab Chang Village, Sobtia Sub-District, Chom Thong District, Chiang Mai Province. Payap University Journal. 28(1): 71-83.

Constandache, N. (2011). The Break-Even Point and the Leverage Effect–Instruments for Assessing the Economic and Financial Risk. Acta Universitatis Danubius. 7(6), 20-33.

Ditkaew, K., Topunyanon, O. & Palala, S. (2015). Study Cost and Return of Product of One Tambon One Product: Case Study Sawaei Coconut. The 2nd National Academic Conference of the Research and Development Institute Kamphaeng Phet Rajabhat University. 439-444.

Heizer, J. & Render, B. (2009). Operations Management. 9th Edition, Prentice Hall, New Jersey.

Hiransomboon, K. (2006). Small business management. (7th ed). Bangkok: Text and Journal Publication.

Meemak,T., Samerjai, C. & Pitiruek, K. (2009). Small business management. Bangkok: SE-Education Public.

Sintha, L. (2019). Bankruptcy Prediction Model of Banks in Indonesia Based on Capital Adequacy Ratio. Journal of Finance and Banking Review. 4(1): 8-16.

Suranatthaku, K. (2016). Managerial Accounting. (3rd ed.). Bangkok: Aksnansophon.

Wiseansart, A., Pensuk, V., Nimala, N., Pariyajarn, S., Suriya, A. & Vilavong, S. (2014). Costs and Prices of Swine’s Processed Products of Farmers in Koklam and Sang Aram Villages under the Royal Project “Pidthong Langphra”, Kudmakfai Sub-district, Nongwuaso District, Udon Thani Province. Prawarun Agricul Tural Journal. 11(2). 149-158.

Otker-Robe, Inci and Anca Maria Podpiera (2014). “The Social Impact of Financial Crises Evidence from the Global Financial Crisis,” Policy Research Working Paper 6703. World Bank.