โควิด-19 กับปัญหาทางเศรษฐกิจของคนจนเมือง

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการระบาดรอบแรกในปี 2563 ได้แก่ กลุ่มคนจนเมืองในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน โดยใช้แบบสอบถามในการทำการสำรวจกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (purposive sampling) ที่เป็นกลุ่มเปราะบางในชุมชนแออัดใน 11 เขต จำนวน 500 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ตัวแปรทางเศรษฐกิจ เช่น การลดลงของรายได้ การเพิ่มขึ้นของความยากจนและหนี้สิน มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในช่วงที่มีการล็อคดาวน์ที่มีการเพิ่มขึ้นของความยากจนสูงสุด และยังมีผลกระทบต่อเนื่องจนถึงช่วงคลายล็อคโดยตัวแปรเหล่านี้ยังอยู่ในทิศทางที่เป็นลบมาก นอกจากนี้ กลุ่มคนจนที่มีรายได้น้อยที่สุดมีสัดส่วนของรายจ่ายต่อรายได้และสัดส่วนของหนี้ต่อรายได้มากที่สุด จากการทดสอบเชิงสถิติชี้ให้เห็นว่าการว่างงาน การลดลงของรายได้ และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของการเป็นหนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยการว่างงานมีผลมากที่สุด ผลการศึกษานี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bangkok Metropolitan Administration (2018). Community Statistics in BMA (in Thai). Depatment of City Planning and Development, BMA.

Chantarat, Somaras, Atjana Lamsam, Narongrit Adultananusak, Lataporn Ratanavararak, Chonakarn Rittinon and Boonthida Sa-ngimnet (2020). “Thai Agricultural Households in COVID 19 Crisis” (in Thai), aBRIDGEd ISSUE 11, 15 May. www.pier.or.th/wp-content/uploads/2020/05/aBRIDGEd_2020_011.pdf

Fujita, Masahisa. (1989). Urban Economics Theory. Cambridge University Press.

Fujita, Masahisa. and J.F.Thisse (2001). Economics of Agglomeration: Cities, Industrial Location and Regional Growth. Cambridge University Press.

Hevia, Constantino and Andy Neumeyer (2020). A Conceptual Framework for Analyzing the Economic Impact of COVID-19 and its Policy Implications. UNDP LAC. March 20, 2020

International Labor Organization. (2020a.). COVID-19 and the world of work: Impact and policy responses, ILO, 18 March 2020

International Labor Organization. (2020b). Social Protection Outlook. ILO, May 2020.

Lekfuangfu, Warn N., Suphanit Piyapromdee, Ponpoje Porapakkarm, and Nada Wasi (2020). “On Covid-19: New Implications of Job Task Requirements and Spouse’s Occupational Sorting” PIER Discussion Paper No. 133.

Lertnitat, chakorn and Somchai Jitsuchon (2020). “The Fragility of Fragile group under COIVD-19” (in Thai), TDRI article, 2 June .TDRI. https://tdri.or.th/2020/06/impact-of-covid19-on-vulnerable groups/?fbclid=IwAR2unsWTtjnvQewGJss-MosMqQLoIYjaOCxXI6s6pYA9erUVp9RaUSLerN4

McCann, Philip. (2001). Urban and Regional Economics. Oxford University Press.

Otker-Robe, Inci and Anca Maria Podpiera (2014). “The Social Impact of Financial Crises Evidence from the Global Financial Crisis,” Policy Research Working Paper 6703. World Bank.