รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อ พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันช้อปปี้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ณัฐฐสินี พุ่มประเสริฐ
สมชาย เล็กเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันช้อปปี้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าบนแอปพลิเคชันช้อปปี้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโมเดลสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ 2. ด้านความคาดหวังในความพยายาม 3. ด้านอิทธิพลทางสังคม 4. ด้านสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน 5. ด้านความตั้งใจแสดงพฤติกรรม และ 6. ด้านพฤติกรรมการใช้งานจริง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันช้อปปี้ของผู้บริโภคมากที่สุดคือ ด้านความตั้งใจแสดงพฤติกรรม รองลงมาคือ ด้านสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ด้านอิทธิพลทางสังคม ด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ และด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaveesuk, S. & Wongjaturapat, S. (2012). Unified Theory of acceptance and use of technology. KMITL Information Technology Journal, 1, 8-13.

Electronic Transactions Development Agency(ETDA). (2018). Thai e-Commerce in 2018, the amount surpassed 3.2 trillion baht. Retrieved March 19, 2019, from https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/documents-for-download.aspx

Kanjana Kitsakul, C. (2012). Research Methodology in Social Sciences. Tak: Project Five-Four Company Limited.

Klinsukon, C. (2019). Adaptation of Thai businesses in the E-commerce era. Retrieved March 19, 2019, from https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646826

Ounreung, S. & Pankham, S. (2017). A Causal Relationship Model of Adoption and the use of Technology that Affect Behavior for the shopping Application on smart phones of the population in Bangkok and its vicinity. The 12th RSU National Graduate Research Conference. 12, 201.

Rangsungnoen, G. (2011). Factor analysis with SPSS and AMOS for research. Bangkok: SE-EDUCATION.

Samniangpror, B. (2011). Factors affecting acceptance and behavior of use of virtual office technology: a case study of field operation division of telecommunication organization. (College of Innovation Thammasat University)

Siriwongpanupong, S. (2018). Shopee strategy penetrates e-commerce market to win local people, customers and employees. Retrieved January 29, 2018, from https://www.brandbuffet.in.th/2018/01/shopee-e-commerce-platform/

Techsauce. (2019). Take a lesson from Shopee, 'Quick Fish' of the E-Commerce world. Retrieved Mar 1, 2019, from https://techsauce.co/tech-and-biz/shopee-faster-player-in-ecommerce-world

Terance, P. (2017). The m-Commerce trend is on the rise, Shopee is growing rapidly with over 5 million downloads. Retrieved March 1, 2017), from https://www.brandbuffet.in.th/2018/01/shopee-e-commerce-platform/Thailand.aspx

Venkatesh et al. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly, 27(3), 425-478.

Wanichbancha, K. (2002). Statistical Analysis: Statistics for Administration and Research. (Edition 14). Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2013A, 34-3