แนวทางการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งระดับบริหารของผู้ปฏิบัติงานที่มีศักยภาพ ในบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อารียา อ่ำอินทร์
สุนิสา จันทร์อ่อน
ปรัชนันท์ เจริญอาภรณ์วัฒนา
จินดาภา ลีนิวา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งของผู้ปฏิบัติงานที่มีศักยภาพในบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ใช้การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกลกลยุทธ์การวิจัยแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติวิทยา ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้บริหารสายผลิตของบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง (ผู้จัดการฝ่าย) จำนวน 2 คน ผู้บริหารระดับกลาง (ผู้จัดการส่วน) จำนวน 5 คน และผู้บริหารระดับต้น (หัวหน้าแผนก) จำนวน 3 คน ดำเนินการสร้างแบบสัมภาษณ์โดยใช้แนวทางคำถามตามแนวทางของ Patton และวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางของ Colaizzi ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาแผนการสืบทอดตำแหน่งระดับบริหารของผู้ปฏิบัติงานที่มีศักยภาพในบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดกรุงเทพมหานครสามารถสรุปขั้นตอนได้ดังนี้ 1) การแต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินการโครงการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง 2) การกำหนดสมรรถนะ และคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องในตำแหน่งงานที่จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง 3) ระดับตำแหน่งที่จะทำการสืบทอดตำแหน่ง 4) การสรรหาคัดเลือกผู้สืบทอดตำแหน่ง 5) การพัฒนาผู้สืบทอด 6) การประเมินผลผู้สืบทอด และ 7) การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้สืบทอด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaleoykitti, S., & Thaiudom, A. (2014). Development Plan for Future Nursing Leadership. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 148-154.

Colaizzi, P. F. (1978). Psychological research as the phenomenologist views it. In: Valle, R.S. and Mark, K., Eds., Existential Phenomenological Alternatives for Psychology, Oxford University Press, New York, 48-71.

Groves, K.S. (2007). Integrating leadership development and succession planning best practices. Journal of Management Development, 26(3), 239-260. https://doi.org/10.1108/02621710710732146

Kallayanadhammo, T. (Phrakruvidheskanyanadham), Sisabai, S. (2023). Succession Planning to Prepare for Change in the Organization. Journal of MCU Social Science Review, 12(4), 457-470.

Khuankaew, C., & Srijukkot, J. (2018). Succession Planning for Nursing Administration of Srinagarind Hospital. Journal of Nursing and Health Care, 36(4), 91-99.

Kua-Arun, P., & Charoenkul, N. (2020). The Need Assessment of Succession Planning Development for Middle – Level Administrators in Secondary School under the Jurisdiction of the Officeof the Basic Education Commission, Bangkok. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 11(1), 203-216.

Lamoureux, K., Campbell, M., & Smith, R. (2009). High-impact succession management: Executive summary. Center for Creative Leadership, 18.

Patton, M. Q. (1990). Qualitative evaluation and research methods (2nd ed.). Sage Publications, Inc.

Phonthongsathit, T., & Sripokangkul, S. (2019). Planning for Succession of Management Positions: A case study of KhonKaen Hospital Administration. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 12(6), 1933-1947.

Srichoompoo, U., & Zumitzavan, V. (2019). Succession Planning for the University Administrators: A Case Study of a University in Khon Kaen. Journal of MCU Nakhondhat, 6(7), 3383-3400.

Urakhen, P. (2017). Factors Influencing Foreign Managers’ Cognizance to Follow Succession Planning in Nonprofit Organization (Independent Study). Retrieved from https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/2339/1/TP%20HOM.008%202560.pdf