ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของเจ้าหน้าที่พัสดุ โรงพยาบาลชุมชน

Main Article Content

ฐิติมา ชื่นวิเศษ
รองศาสตราจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ของเจ้าหน้าที่พัสดุ โรงพยาบาลชุมชน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของเจ้าหน้าที่พัสดุ ในโรงพยาบาลชุมชน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของเจ้าหน้าที่พัสดุ โรงพยาบาลชุมชน โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดเขตบริการสุขภาพที่ 11 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานพัสดุ ได้แก่ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุและนักวิชาการพัสดุ ของโรงพยาบาลชุมชน เขตบริการสุขภาพที่ 11 จำนวน 90 คน เก็บรวบรวมข้อมูลข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และกำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05 สถิติที่วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ของเจ้าหน้าที่พัสดุ โรงพยาบาลชุมชน เขตบริการสุขภาพที่ 11 อยู่ในระดับปานกลาง และในส่วนของการศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของเจ้าหน้าที่พัสดุ ในโรงพยาบาลชุมชน เขตบริการสุขภาพที่ 11 พบว่ามีระดับประสิทธิภาพ ด้านการวางแผนความต้องการ อยู่ในระดับมาก ประสิทธิภาพด้านการแจกจ่าย อยู่ในระดับมากที่สุด และประสิทธิภาพด้านการบำรุงรักษาอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า ประสิทธิภาพที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล คือ ตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ที่เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่ม และจำนวนบุคลากรในการบริหารงานพัสดุ โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุเพียงพอ มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Community Development Department (2021). Finance, Finance and Procurement Regulations. Bangkok : Department of Community Development.

Department of Nursing, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. (2017). Guidelines for planning succession in the nursing profession according to good governance, Pathum Thani : Tawan Media Company Limited.

Hattakit, W. (2012). Conditions and problems in the management of supplies of the organization. Within the Faculty of Arts and Sciences, Kasetsart University, Kamphaeng Saeng Campus. Research articles, Faculty of Arts and Sciences, Kasetsart University. Kamphaengsaen Campus.

Khangandi, C. (2020). Factors Affecting Performance under the Act and Regulations of the Ministry of Finance on Public Procurement and Supplies Administration, B.E. 2560 of the procurement worker Ban Somdet Chaopraya Rajabhat University. Procurement Academics, Finance Division, Office of the President Ban Somdet Chao Phraya Rajabhat University.

Kongtung, S., Aisanon, C., (2020). Optimization of purchasing management. college of logistics and supply chain Suan Sunanta Rajabhat University.

Ministry of Health (2021). Geographic information system for health resources. Retrieved May 30, 2021, from http://gishealth.moph.go.th/healthmap/report.php.

Onnuam, K., Ruengthammasing, C., (2019). Problems and obstacles in the procurement of local government organizations. Master of Public Administration College of local administration Khon Kaen University.

Panyarat, D. (2011). Systematic problems in parcel management Buakkhang Sub-district Municipality, Samkamphaeng District, Chiang Mai Province.

Piyaphaso, S., Noknoi, J., Langthaekul, S. (2018). Knowledge and Understanding of the Government Procurement and Supplies Management Act B.E. 2560 and the efficiency of administration. Personnel supplies work a case study of the Rajamthe Angela University of Technology Sriwichai. Thaksin University.

Procurement Division, Royal Irrigation Department. (2021). Handbook of supplies operations. Retrieved March 10, 2021, from http://supply.rid.go.th/supplyrid/6/index-home-a.html

Srimee, C., Nuttawongsakorn, R., (2020). Guidelines for the development of the procurement process of the Department of Children and Youth Affairs Ministry of Social Development and Human Security.

Suwanchailai, S. (2018). The Efficiency of Procurement Officers in Public Procurement Operations Using the Electronic Public Sector Procurement System (e-GP) Case Study of the Office of the Narcotics Control Board. Independent Study Master of Public Administration, Stamford International University.

The Comptroller General's Department. (2021). Public Procurement System. Retrieved March 10, 2021, from http://www.gprocurement.go.th/new_index.html

The Comptroller General's Department. (2021). Internal Audit. Retrieved May 1, 2021, from

http://www.dusit.ac.th/department/checkin/doc/n16.pdf

The Ministry of Finance. (2021). Government Procurement and Supplies Management Act, B.E. 2560 .Bangkok. Retrieved May 30, 2021,from http://www.gprocurement.go.th.

The Ministry of Finance. (2021). Regulations of the Ministry of Finance on Public Procurement and Supplies Management B.E. 2560. Bangkok Metropolis. Retrieved May 30, 2021, from http://www.gprocurement.go.th.

Uthakarn, C. (2019). Factors of Inventory Management Affecting the Efficiency of Parcel Management of Academics of Materials in Mahasarakham University. Faculty of Accountancy and Management Maha Sarakham University.