การศึกษาระบบธุรกิจอัจฉริยะและการตลาด 5.0 เพื่อการพัฒนารูปแบบระบบสุขภาพเชิงป้องกันที่เหมาะสมแก่ประชากรไทยตามแต่ละช่วงวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพของประชากรไทยในแต่ละช่วงวัย และนำระบบธุรกิจอัจฉริยะและการตลาด 5.0 ช่วยออกแบบและพัฒนาระบบสุขภาพเชิงป้องกัน ให้เหมาะสมกับประชากรไทยในแต่ละช่วงวัย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงเอกสารและใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพเชิงป้องกัน ระบบธุรกิจอัจฉริยะ และการตลาด 5.0 ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ ของโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในจังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะลง จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยกรสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประชากรไทยป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวนมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยระบบธุรกิจอัจฉริยะและการตลาด 5.0 สามารถจัดการข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์และพยากรณ์ระบบสุขภาพเชิงป้องกันได้ โดยการทำการตลาดในปัจจุบันต้องอาศัยข้อมูลของผู้บริโภคเป็นสำคัญในการวิเคราะห์และออกแบบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพเชิงป้องกัน เพื่อให้เหมาะสมกับประชากรไทยแต่ละช่วงวัย รวมถึงแต่ละบุคคลได้ โดยการป้องกันก่อนการเกิดโรคเป็นสิ่งที่ประชากรไทยทุกช่วงวัยควรให้ความสำคัญ สามารถทำได้โดยการตรวจสุขภาพเชิงป้องกันของแต่ละโรงพยาบาลที่มีอยู่สามารถตรวจคัดกรองได้ไม่คลอบคลุมครบทุกโรค และยังต้องมีการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสุขภาพเชิงป้องกันเพิ่มเติม โดยรูปแบบระบบสุขภาพเชิงป้องกันควรให้ผู้ใช้บริการได้เลือกด้วยตนเอง เพื่อให้เหมาะสมในการตรวจคัดกรองโรคของประชากรไทยแต่ละช่วงวัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาในวารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ สามารถนำผลงานไปใช้เผยแพร่ได้ แต่ห้ามนำไปแก้ไข ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางการค้าและแสวงหาผลกำไร
References
กรมควบคุมโลก. (2566). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก 2566 มุ่งเน้นให้ความรู้ประชาชนถึงความเสี่ยงโรคเบาหวาน และหากตรวจพบก่อนจะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news =38403& deptcode=brc&news _views=2606.
กรมประชาสัมพันธ์. (2566, 17 พฤษภาคม). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ “รู้เลข รู้เสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อ”. เข้าถึงได้จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/182186
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถิติสุขภาพคนไทยระดับพื้นที่. สถิติสุขภาพคนไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/index.html
กรุงเทพธุรกิจ. (2566, 10 พฤศจิกายน). คุณเสี่ยง "หัวใจอ่อนแอ" หรือไม่ สัญญาณเตือนโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ. เข้าถึงได้จาก hthttps://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1098273
ธนรัตน์ บาลทิพย์. (2565). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการจัดการโลจิสติกส์ สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กรณีศึกษาบริษัท XYZ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(3). 65-82.
บริษัท บิสซิเนส พอร์ทัล จำกัด. (2561). ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) กับการจัดการ Big Data. MBAMagazine. เข้าถึงได้จาก https://mbamagazine.net/index.php/intelligent/nida-wisdom/item/626-business-intelligence-big-data
ปัทมา เที่ยงสมบุญ และนิเวศ จิระวิชิตชัย. (2561). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพยากรณ์ และการตัดสินใจของผู้บริหาร กรณีศึกษากลุ่มโรงพยาบาล. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, 5(4), 16-30.
ผู้จัดการออนไลน์. (2567, 19 กุมภาพันธ์). NCDs คร่าชีวิตคนไทย 75% แนวโน้ม "เบาหวาน-ความดัน" เพิ่มปีละ 5%. https://mgronline.com/qol/detail/9670000015146
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564, 1 พฤศจิกายน). ปรับพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=236894
วัลลภา อันดารา. (2561). การศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของ ประชาชนในชุมชน บ้านเอื้ออาทรบางเขน (คลองถนน). วารสารแพทย์นาวี, 45(1), 121-138.
ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโรงพยาบาลพระรามเก้า. (2566, 26 มกราคม). 3 เทรนด์การดูแลสุขภาพสไตล์เวลเนสมาแรงในปี 2566. เข้าถึงได้จาก https://w9wellness.com/th/wellness-trends-2023/
ศรีสมบัติ แวงชิน. (2554). การพัฒนาธุรกิจอัจฉริยะด้วยคลังข้อมูล. วารสารนักบริหาร, 31(1), 160-165.
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย. (2566, 28 ตุลาคม) สธ. เผย ปี 66 ไทยพบผู้ป่วยโรคหลอด
เลือดสมองกว่า 3.49 แสนราย. เข้าถึงได้จาก https://nbt2hd.prd.go.th/th/content/category/detail/id/2153/iid/227609.
James, K., Elrod, L., John, L., & Fortenberry, Jr . (2020). Advertising in health and medicine: using mass media to communicate with patients. BMC Health Services Research, 20(1). https://doi.org/ 10.1186/s12913-020-05599-3
Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2021). Marketing 5.0: Technology for Humanity. John Willey & Sons
Krueger, R. A. (1998). Moderating Focus Groups. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Ritchie, J., & Spencer, L. (2002). Qualitative Data Analysis for Applied Policy Research. In A. M. Huberman, & M. B. Miles (Eds.), The Qualitative Researcher’s Companion (pp. 305-329). SAGE Publications, Inc.