ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ผักรวมชนิดผงยี่ห้อ "ทรีออร์คิดส์" ของผู้บริโภคในไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผักรวมชนิดผงยี่ห้อ "ทรีออร์คิดส์" ของผู้บริโภคในไทย 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผักรวมชนิดผงยี่ห้อ "ทรีออร์คิดส์" ของผู้บริโภคในไทย และ 3) เพื่อเสนอแนวทางปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผักรวมชนิดผงยี่ห้อ "ทรีออร์คิดส์" ของผู้บริโภคในไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนกลุ่มตัวอย่างผู้ที่บริโภคในประเทศไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า
น้ำหนักเฉลี่ยด้านการรับประทานทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.18 ค่า S.D. เท่ากับ 0.98 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก ในขณะที่ด้านคุณประโยชน์และด้านความสะดวกสบายเป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด
2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก ในขณะเดียวกันด้านรสชาติมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดี
น้ำหนักเฉลี่ยด้านสรรพคุณ ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.24 ค่า S.D. เท่ากับ 1.00 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก ในขณะที่ด้านการรักษาบำรุงผิวพรรณและด้านการช่วยเรื่องระบบขับถ่ายเป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก ในขณะเดียวกันด้านการเสริมสร้างคอลลาเจนมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก
ระดับการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผักรวมชนิดผง "ทรีออร์คิดส์" ของผู้บริโภคในไทย มีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.23 ค่า S.D. เท่ากับ 0.99 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก ในขณะที่ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก รองลงมาคือด้านความพึงพอใจของผู้บริโภคแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก ด้านราคาแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก และด้านความรวดเร็วในการบริการแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก ตามลำดับ ส่วนด้านความทันสมัยของบรรจุภัณฑ์มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดีมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
ชมพูนุช จิตติถาวร และคณะ. (2560). ทัศนคติและพฤติกรรมการการดูแลสุขภาพและการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคนทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 2249-2262.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ). 624-634.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัทรฤทัย เกณิกาสมานวรคุณ และคณะ. (2563). การตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประชาชนในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อุบลรัตน์ ชมรัตน์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพชนิดแคปซูลของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.