การจัดการทั่วไปยุคใหม่ของภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

กานต์พิสุทธิ์ ยุกตานนท์
พิชญามณญ์ วงษ์สถิต
วิชาญ สุธรรมพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาที่มาและสภาพปัญหาการจัดการทั่วไปยุคใหม่ของภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาประเมินวิเคราะห์สังเคราะห์การจัดการทั่วไปยุคใหม่ของภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการทั่วไปยุคใหม่ของภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม


ผลการวิจัยพบว่า


น้ำหนักเฉลี่ยด้านการจัดการทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.13 ค่า S.D. เท่ากับ 0.85 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านการกำหนดเป้าหมายและด้านบุคลากรเป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะเดียวกันด้านทรัพยากรที่ใช้มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง


น้ำหนักเฉลี่ยด้านความทันสมัย ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.17 ค่า S.D. เท่ากับ 0.87 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านการใช้เทคโนโลยีและด้านการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะเดียวกัน ด้านการเสริมสร้างมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก


ระดับการจัดการทั่วไปยุคใหม่ของภาครัฐในจังหวัดนนทบุรีมีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.18 ค่า S.D. เท่ากับ 0.93 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านการมุ่งเน้นประสิทธิผลมีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านการเปลี่ยนแปลงแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก และด้านความเป็นระบบระเบียบแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ส่วนด้านการประเมินมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

How to Cite
ยุกตานนท์ ก., วงษ์สถิต พ., & สุธรรมพงษ์ ว. (2024). การจัดการทั่วไปยุคใหม่ของภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร ปัญญาลิขิต, 2(1), 28–41. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/794
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

ไชยนันท์ ปัญญาศิริ และสุมิตตรา เจิมพันธ์. (2563). โครงสร้างตามสถานการณ์ขององค์การภาครัฐไทยตามแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(2), 112-123.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ). 624-634.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญซื่อ เพชรไทย และคณะ. (2564). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 359-372.

พงศกร ศรีรงค์ทอง. (2563). ความหลากหลายของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่กับแนวโน้มการจัดการภาครัฐในอนาคต. วารสารจันทรเกษมสาร, 26(1), 31-44.

พงศ์นที คงถาวร และคณะ. (2564). แนวทางการจัดการและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(2), 76-96.

พงษ์พัต วัฒนพงศ์ศิริ และภาสกร ดอกจันทร์. (2565). การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในยุคโควิด-19. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 5(3), 110-121.

พัชรินทร์ โสภา และสิทธิเดช สิริสุขะ (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(1), 383-395.

DOH กรมอานามัย. (2565). ประชากรทะเบียนราษฎร์ จำแนกรายเพศ ปีงบประมาณ 2565. สืบค้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2565, จาก http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/region? year=2022&rg=04.

Yamane, T.(1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York; Harper and Row Publications.