การจัดการพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของประชากรไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

สุขุมาล ยุกตานนท์
วรพธู ยุกตานนท์
อุตมาภรณ์ ยุกตานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของประชากรไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์การใช้ภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการจัดการพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของประชากรไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของประชากรไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม


ผลการวิจัยพบว่า


น้ำหนักเฉลี่ยด้านการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.11 ค่า S.D. เท่ากับ 0.95 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านความเข้าใจ และด้านการศึกษาเพิ่มเติม เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรก แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก และระดับปานกลาง ในขณะเดียวกัน ด้านความตั้งใจ มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง


น้ำหนักเฉลี่ยด้านการเสริมสร้างความสามารถ ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.09 ค่า S.D. เท่ากับ 0.94 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านความต่อเนื่อง และด้านการฝึกฝน เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรก แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะเดียวกัน ด้านการช่วยเหลือ มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง


ระดับการจัดการพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษมีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.07 ค่า S.D. เท่ากับ 0.92 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านการประเมิน มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความกล้าแสดงออก แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความก้าวหน้า แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง และด้านประสิทธิภาพ แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ส่วนด้านการนำไปใช้มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

How to Cite
ยุกตานนท์ ส., ยุกตานนท์ ว., & ยุกตานนท์ อ. (2024). การจัดการพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของประชากรไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร ปัญญาลิขิต, 2(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/790
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12).กรุงเทพฯ: สามลดา.

การเคหะแห่งชาติ. (2565). รายงานข้อมูลประชากรและบ้าน ปี 2565. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และสารสนเทศที่อยู่อาศัย ฝ่ายวิชาการและพัฒนานวัตกรรมเพื่อที่อยู่อาศัย.

ณัฐกุล ภูกลาง. (2562). การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ). 624-634.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพบูลย์ สุขวิจิตร บาร์, วิลาสินี ดาราฉาย และ สุทธิชา เพชรวีระ. (2564). การใช้การสอนแบบบูรณาการและการสอนร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปี ที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. หนังสือประมวลบทความการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ออนไลน์ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2564. วันที่ 28 ตุลาคม 2564. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุรัสวดี เสาว์บุปผา. (2565). สภาพและแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถภาษาอังกฤษที่เป็นสากลของครูผู้สอนในโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์(การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อาภัสรา สังขวาสี. (2564). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 โดยใช้การเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน (Team-Based Learning) (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.