ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนในภาคตะวันออกฉียงเหนือ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า น้ำหนักเฉลี่ยด้านสังคมทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.01 ค่า S.D. เท่ากับ 0.87 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านการปฏิบัติ และด้านการช่วยเหลือ เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะเดียวกัน ด้านการสนับสนุน มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุด ซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง
น้ำหนักเฉลี่ยด้านความสามารถ ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.04 ค่า S.D. เท่ากับ 0.87 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านความใส่ใจ และด้านทักษะ เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะเดียวกัน ด้านการเรียนรู้ มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง
ระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.02 ค่า S.D. เท่ากับ 0.92 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านการปรับตัว มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ด้านผู้สอนแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ด้านประสิทธิภาพแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง และด้านหลักสูตรแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ส่วนด้านการพัฒนามีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ), 624-634.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรรณี โรจนเบญจกุล ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง และชาญเดช เจริญวิริยะกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 203-214.
วันเพ็ญ ภุมรินทร์ และคณะ. (2563). ทัศนคติในการเรียนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปะศาสตร์, 15(2), 29-42.
รสรินทร์ ปิ่นแก้ว และ ภานุวัฒน์ ศิรินุพงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในชีวิตจริง 1 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพประเภทวิชาอุตสาหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 83-93.
ชัชรีย์ บุนนาค. (2561). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564 – 2568. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2“GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.