ปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ "ทรีออร์คิดส์" เกลือแปรงฟันสมุนไพรไทยสูตรโบราณที่ส่งผลต่อสุขภาพปากและฟันของผู้บริโภคในประเทศไทย

Main Article Content

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์
สุขุมาล ยุกตานนท์
กานต์พิสุทธิ์ ยุกตานนท์
อุตมาภรณ์ ยุกตานนท์
วรพธู ยุกตานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์
"ทรีออร์คิดส์" เกลือแปรงฟันสมุนไพรไทยสูตรโบราณที่ส่งผลต่อสุขภาพปากและฟันของผู้บริโภคในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ "ทรีออร์คิดส์" เกลือแปรงฟันสมุนไพรไทยสูตรโบราณที่ส่งผลต่อสุขภาพปากและฟันของผู้บริโภคในประเทศไทย และ 3) เพื่อเสนอแนะปัจจัยและแนวทางที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ "ทรีออร์คิดส์" เกลือแปรงฟันสมุนไพรไทยสูตรโบราณที่ส่งผลต่อสุขภาพปากและฟันของผู้บริโภคในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม


ผลการวิจัยพบว่า น้ำหนักเฉลี่ยด้านการใช้งานทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.12 ค่า S.D. เท่ากับ 0.95
แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดี ในขณะที่ด้านประสิทธิภาพ และความสะดวกใช้ ที่ส่งผลต่อสุขภาพปากและฟันของผู้บริโภค เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรก แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดี ในขณะเดียวกัน
ด้านความสะอาด มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุด ซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับดี


น้ำหนักเฉลี่ยด้านสรรพคุณ ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.04 ค่า S.D. เท่ากับ 0.93 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดี ในขณะที่ด้านการลดกลิ่นปาก และด้านการรักษารำมะนาด เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด
2 อันดับแรก แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับดี ในขณะเดียวกัน ด้านการรักษาแผลในปาก มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุด ซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับดี


ระดับการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคมีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.11 ค่า S.D. เท่ากับ 0.92 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านราคา มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 3.16 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.96 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานมาก รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ มีน้ำหนักเฉลี่ย เท่ากับ 3.15 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.90 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ด้านความพึงพอใจ มีน้ำหนักเฉลี่ย เท่ากับ 3.10 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.98 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง และด้านความรวดเร็ว มีน้ำหนักเฉลี่ย 3.09 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.88 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ส่วนด้านบรรจุภัณฑ์มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ เท่ากับ 3.07 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.86 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

How to Cite
ยุกตานนท์ ธ., ยุกตานนท์ ส., ยุกตานนท์ ก., ยุกตานนท์ อ., & ยุกตานนท์ ว. (2024). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ "ทรีออร์คิดส์" เกลือแปรงฟันสมุนไพรไทยสูตรโบราณที่ส่งผลต่อสุขภาพปากและฟันของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสาร ปัญญาลิขิต, 1(3), 1–14. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/577
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานวิชาการเภสัชกรรมแผนไทย. (2561). ยาสีฟันสมุนไพรสูตรผสมเกลือ. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

จุฑามาศ ฝึกฝน. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันของผู้บริโภคในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

ชาคริต อาภาตั้งตระกูล และคณะ. (2562). การพัฒนายาสีฟันสมุนไพรอัดเม็ดและประเมินความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสมุนไพรอัดเม็ดในอาสาสมัคร (รายงานวิจัย). คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ), 624-634.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นฤมล เสร็จกิจ. (2564). ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทยของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2564). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Consumer Buying Process). สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565, จาก https://www.popticles.com/marketing/consumer-buying-process/

มหัทธน พูลเกสร. (2565). ผลของน้ำยาบ้วนปากผสมสมุนไพรต่อความพึงพอใจในการลดกลิ่นปาก. วารสาร ศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2(2), 67-75.

อุไรวรรณ อมรไชย. (2564). พฤติกรรมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดช่องปากของประชาชนอำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี. สรรพสิทธิเวชสาร, 28(1-2), 39-51.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.