การจัดการกระบวนการลดมลพิษทางอากาศยุคใหม่ไทย ในเขตจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการกระบวนการลดมลพิษทางอากาศยุคใหม่ไทยในเขตจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การจัดการกระบวนการที่มีผลต่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของการจัดการกระบวนการลดมลพิษทางอากาศยุคใหม่ไทยในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับระดับการจัดการกระบวนการลดมลพิษทางอากาศยุคใหม่ไทยในเขตจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่คือจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม
ที่สร้างขึ้นจากการศึกษาวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องประกอบกับเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ในการศึกษา โดยนำตัวแปรที่วิเคราะห์ได้จากทางสถิติไปสร้างแบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า น้ำหนักเฉลี่ยการจัดการกระบวนการด้านการดำเนินการ 4 ด้าน เท่ากับ 3.05 ค่า S.D. เท่ากับ 0.89 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่การสื่อสาร การให้ความรู้ และการปฏิบัติ มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก โดยมีค่าระดับเฉลี่ยเท่ากับ 3.10, 3.08 และ 3.03 ทั้งหมดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง มีค่า S.D. เท่ากับ 0.99, 0.97 และ 0.84 ตามลำดับ ในขณะเดียวกันการสนับสนุน มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 3.02 ค่า S.D. เท่ากับ 0.74 ซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง
น้ำหนักเฉลี่ยการจัดการกระบวนการด้านประสิทธิภาพ ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.06 ค่า S.D. เท่ากับ 0.87 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ความครอบคลุม และผลลัพธ์ มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรก ซึ่งมีค่าระดับเฉลี่ยเท่ากับ 3.11 และ 3.10 ทั้งหมดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก และปานกลาง มีค่า S.D. เท่ากับ 0.87 และ 0.82 ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ความเข้าใจ มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 2.98 ค่า S.D. เท่ากับ 0.88 ซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง
ระดับการจัดการกระบวนการลดมลพิษทางอากาศมีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.07 ค่า S.D. เท่ากับ 0.92 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่สิ่งแวดล้อม มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 3.11 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.94 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ การมีส่วนร่วม มีน้ำหนักเฉลี่ย เท่ากับ 3.09 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.94 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง เทคโนโลยี มีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 3.08 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.94 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพทางสังคม มีน้ำหนักเฉลี่ย 3.06 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.88 ตามลำดับ ส่วนภาครัฐมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ เท่ากับ 3.05 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.90 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: สามลดา.
เกษวรางค์ ลีลาสิทธิกุล และคณะ. (2561). ผลจากหมอกควันและมลพิษทางอากาศต่อระบบหัวใจและทางเดิน หายใจ ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 18(3), 339-348.
ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ. (2563). แหล่งกำเนิด ผลกระทบและแนวทางจัดการฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 461-474.
ณัฐชยา อุ่นทองดี. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศจากหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภัคพงศ์ พจนารถ. (2559). สถานการณ์ของปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดในเมืองใหญ่ของประเทศไทย: กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และ ระยอง. Journal of Environmental Management, 12(1), 114–133.
โยษิตา หลวงสุรินทร์ และธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2564). การบริหารจัดการการเรียนออนไลน์ กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 39(1), 125-140.
รสสุคนธ์ วงค์แสนคำ. (2550). การจัดการมลพิษทางอากาศของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2564). บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.
สุดจิต ครุจิต. (2561). แนวทางการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กตามแนวคิด อุตสาหกรรมสีเขียว (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row.