แนวทางการพัฒนาศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยในยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยในยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยในยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยในยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนผู้มารับบริการ จำนวน 10 คน มาใช้หาข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนา จำแนกข้อมูล จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผล
ผลการวิจัยพบว่า ระดับศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยในยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานครตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า ระดับศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยในยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับ ปานกลาง (=3.06, S.D.=.37) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความพึงพอใจ อยู่ในระดับ ปานกลาง (=3.11, S.D.=.37) ด้านการบริการ อยู่ในระดับ ปานกลาง (
=3.07 S.D.=.17) และด้านความต้องการ อยู่ในระดับ ปานกลาง (=3.01, S.D.=.68) ตามลำดับ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยในยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร ด้านความต้องการ อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านความสะดวกสบายX4 ด้านความปลอดภัยX3 และด้านการประหยัดX1 ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .416 .276 และ .040 ตามลำดับ
ควรมีการเพิ่มศักยภาพการให้บริการ มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีปลูกฝังให้พนักงาน มีการรับประกันการให้บริการ และเสริมสร้างวิสัยทัศน์และประสบการณ์ที่ดีในการบริหารงาน ควรสร้างอัตราค่าบริการที่เหมาะสมกับบริการ ที่ทำการมีความสะดวกในและเพียงพอต่อความต้องการ โดยบริการลูกค้าให้มีความเท่าเทียมกันเพื่อสร้างศักยภาพการให้บริการ ประหยัดเวลาในการจัดส่ง สามารถประหยัดต้นทุนเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมีความเสมอภาคและมีประสิทธิภาพ ควรเสริมสร้างความปลอดภัย ความสะดวกในการติดต่อ และสร้างมาตรฐานในการให้บริการที่มีความเร่งด่วน ตอบโจทก์ในการใช้บริการของลูกค้าอย่างประทับใจ สร้างระบบการบริการเพื่อความปลอดภัยต่อสินค้าในการใช้ระยะเวลาในการรอเพื่อความแน่ใจว่ามีความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความพึงพอใจในความปลอดภัยต่อทรัพย์สิน และสามารถป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในการบริการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า
Article Details
References
กันตภณ เผือกแก้ว. (2563). ประสิทธิผลการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท ปิโตรเคมีแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
กรรณิการ์ วงศ์โพธิสาร. (2561). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งเอ็กซ์เพรสในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จิตระวี ทองเถา. (2562). พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 105-114.
จิตรา รู้กิจการพานิช. (2561). วิศวกรรมความปลอดภัยสำหรับวิศวกรรมอุตสาหการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวลิต บุญเกิด. (2562). การเปลี่ยนแปลงบทบาทบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. (2551). วารสาร 125 ปี ไปรษณีย์ไทย. กรุงเทพฯ: ไปรษณีย์ไทย.
ภักดี โพธิ์สิงห์ และคณะ. (2560). การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อการ ให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 4, มหาวิทยาลัยภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ, 21 ก.ค. 2560.
มณฑิรา สุวรรณมณีรัตน์. (2553). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรเทศบาลตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิจิตร อาวะกุล. (2540). การฝึกอบรม: คู่มือการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุพงษ์ วงษ์พจนี. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาศักภาพการบริหารกลุ่มลูกค้าอิคอมเมิร์ซ กรณีศึกษา: บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Chaplin, J. P. (1968). Dictionary of Psychology. New York: Reaquin Book.
Choocheard S. (2018).To improve work performance. Retrieved 28 November 2018, from http://wwwthailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=771
Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw – Hill.
Hornby, A. F. (2000). Advance learner's dictionary. (6th ed.). London, England: Oxford University.
Vaisamruat K. (2012). Two Tools for 21st Century Schools and Districts. Retrieved 2 January 2017, from http://thirteencelebration.org/blog/edblog/edblog-two-tools-for-21-stcentury-schools-and districts-by-den-kay/2903/
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.