รูปแบบการเรียนรู้เรื่องไตรสิกขาในรายวิชาพระไตรปิฏกศึกษา 1 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนรู้, ไตรสิกขาในรายวิชาพระไตรปิฏกศึกษา, นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนาบทคัดย่อ
รายงานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ การเรียนรู้เรื่องไตรสิกขาในรายวิชาพระไตรปิฏกศึกษา รูปแบบการเรียนรู้ และปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางรูปแบบการเรียนรู้เรื่องไตรสิกขาในรายวิชาดังกล่าว โดยใช้วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษา จำนวน 399 รูป/คน ซึ่งเลือกจากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายเปิด และใช้สถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยดังต่อไปนี้
ผลการวิจัยพบว่า 1) พบว่า การเรียนรู้เรื่องไตรสิกขาในรายวิชาพระไตรปิฏกศึกษา 1 ของนักศึกษา โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านที่ 2 ที่ 3 ปัจจัยด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ปัจจัยด้านตัวผู้สอน รองลงมา ด้านที่ 4 ปัจจัยด้านผู้เรียน และด้านที่ 5 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ทั้งหมดมีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก
2) พบว่า รูปแบบการเรียนรู้โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านที่ 3 ด้านคุณธรรมจริยธรรม รองลงมา ด้านที่ 1 ด้านความรู้ และด้านที่ 5 ด้านปัญญา ทั้งหมดมีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก
3) เนื้อหาวิชาเก่าหรือยากเกินไป กิจกรรมการเรียนการสอนขาดกรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่ม นักศึกษามีส่วนร่วมไม่เพียงพอ ผู้สอนขาดการพัฒนาตนเอง นักศึกษาขาดทักษะการเรียนรู้และการคิดวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนไม่เหมาะสม เช่น ห้องเรียนและโสตทัศนูปกรณ์ไม่เพียงพอ ควรปรับปรุงองค์ประกอบทั้งหมดให้มีความทันสมัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
คำสำคัญ ; รูปแบบการเรียนรู้, ไตรสิกขาในรายวิชาพระไตรปิฏกศึกษา, นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
References
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2540). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิยพรรณ วรรณศิริ.(2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ผ่องพันธุ์ มณีรัตน์. (2529). มานุษยวิทยากับการศึกษาคติชาวบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุทธ ไกรวรรณ์. (2546). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2531). เอกสารคำสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
Bloom,et al. (1956). The Function of Excutive. London: Oxford University Press.
Carl R. Rogers (1946), Significant Aspects of Client-Centered TherapyFirst published in American Psychologist, University of Chicago.
Delors, J. (August, 1998). Learning: The Treasure Within. UNESCO Department of Employment, Education and Training, Canberra. (1991). Teaching English Literacy. A Project of National Significance on the Preservice Preparation of Teachers for Teaching English Literacy, Vol. 1.
Gerlach,S. Vernon and Ely,P. Danald.(1971). Teaching and Media A systematic Approach. New Jersey: Prentice Hall.