การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • นภัทร ตะโพธิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, เทคนิคผังกราฟิก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนกันทรวิชัย จำนวน 34 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน Dependent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.43/81.47 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

Kaewpuang, P. (2020). Social studies learning management science. Chulalongkorn University Press.

Kantharawichai School. (2022). Annual report of the educational institution, self assessment report :SAR, academic year 2022. Maha Sarakham Secondary Educational Service Area Offce.

Khaemmanee, T. (2021). Teaching science: knowledge for organizing an effective learning process (25th eds). Chulalongkorn University Press.

La-ongkaew, T. (2018). Development of achievement in geography and critical thinking ability. A system for Mathayom 5 students with an inquiry-based learning process combined with the flipped classroom concept [Master thesis, Silpakorn University]. Silpakorn

University.

Ministry of Education. (2008). Basic education core curriculum 2008. Agricultural Cooperative Community Press of Thailand.

Munmat, T. (2020). Development of collaborative group learning activities in an investigative format with concept map on being a good citizen of the nation and world society of Mathayom 4 students [Master of Education, Rajabhat Mahasarakham University].

Rajabhat Mahasarakham University.

Namonsai, N., Intanin, A., & Sanpundorn, S. (2023). The development of learning management activities using the inquiry-based learning (5E) to develop analytical thinking skills in the course science and technology for students in grade 3. EDUCATIO: Journal of

Education, 7(4), 225-234.

Offce of the National Economic and Social Development Council. (2022). National economic and social development plan No. 13 (2023-2027). Offce of the National Economic and Social Development Council.

Panklin, R. (2019). Developing learning activities that promote analytical thinking using graphic diagram techniques on civic duties and living in society for Mathayom 2 students [Master of Education Degree, Suan Sunandha Rajabhat University]. Suan Sunandha

Rajabhat University.

Phetsiriwan, T. (2020). Development of 5E learning activities on European geography. Social studies, religion and culture subjects for Mathayom 2 students. [Master of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University]. Sakon Nakhon Rajabhat University.

Pinla W., & Pinla, W. (2021). Social studies learning management in the 21st century (2nd edition). Chulalongkorn University.

Raknoi, C., & Mansukphon, W. (2022). Development of blended learning activities using the learning process. Knowledge inquiry form to promote analytical thinking skills of Mathayom 5 students. The Journal of Sirindhornparidhat, 23(1), 43-56.

Thanyaphol, P. (2021). Results of learning management for Southeast Asian subjects using the inquiry process. Geography on the future thinking ability of Mathayom 4 students [Master’s degree, Silpakorn University]. Silpakorn University.

Wannasian, D. (2015). MACRO model: learning management model for the 21st century. Suan Dusit Rajabhat University.

Wannachawee, A. (2022). Analytical thinking. https://bsru.net/Analytical thinking.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-29