Ethics

จริยธรรมของผู้นิพนธ์

   1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมานั้น ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากวารอื่น
   2. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง”
   3. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
   4. ผู้นิพนธ์ต้องไม่บิดเบือนข้อมูล หรือรายงานข้อมูลที่เป็นเท็จ
   5. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุน (หากมี)
   6. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานวิจัยของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเองจะต้องจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความตามรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงใน “การเตรียมบทความ”



จริยธรรมของบรรณาธิการวารสารนวัตกรรมและวัฒนธรรมองค์การ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

   1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร โดยคำนึงถึงความสอดคล้องของ aim&scope ของวารสาร
   2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์ และผู้เขียนบทความ แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
   3. บรรณาธิการวารสารต้องชี้แจง หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (Peer review) อีกทั้งมีความพร้อมในการชี้แจงความเบี่ยงเบนต่าง ๆ จากกระบวนการตรวจสอบ
   4. บรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
   5. บรรณาธิการวารสารต้องพิจารณาตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว



จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ

   1. ผู้ประเมินบทความต้องได้รับระบบปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ ยกเว้นกรณีที่มีการประเมินบทความแบบเปิด ซึ่งได้แจ้งให้ผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความรับทราบล่วงหน้า
   2. ผู้ประเมินควรปฏิเสธการประเมินบทความที่ตนมีส่วนได้ส่วนเสียเช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ รู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ และแจ้งต่อบรรณาธิการเพื่อเปลี่ยนผู้ประเมิน
   3. ผู้ประเมินควรให้ข้อเสนอแนะตามหลักการทางวิชาการ ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ และหากผู้ประเมินพบความซ้ำซ้อนของบทความที่อ่านกับบทความอื่นๆ หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ โปรดแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย
   4. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับบทความที่อ่านต่อบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
   5. หากผู้ประเมินค้นพบการคัดลอกบทความหรือผลงานอื่นที่ไม่มีการอ้างอิง การแอบอ้างเป็นผลงานตนเอง ให้หยุดทำการประเมิน และแจ้งให้บรรณาธิการทราบ

จริยธรรมการวิจัยในคนและสัตว์

หากผลงานทางวิชาการของผู้นิพนธ์เกี่ยวข้องกับการใช้คน สัตว์ ผู้เข้าร่วม หรืออาสาสมัคร หรือผลการวิจัยมีประเด็นที่เปราะบางต่อผู้ให้ข้อมูล ผู้นิพนธ์ควรดำเนินการตามหลักจริยธรรมวิจัยให้เป็นไปตามมาตรฐานของหน่วยงานผู้วิจัย หรือหน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัย