แนวคิดเรื่องครุฑในพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
ครุฑ, พระพุทธศาสนา, พุทธปรัชญา, แนวคิดบทคัดย่อ
ครุฑในพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น คือเป็นเทวดาชั้นล่างประเภทหนึ่ง อาศัยอยู่ในวิมานสิมพลี กินนาคเป็นอาหาร เป็นบริวารของท้าววิรุฬหก ครุฑถือกำเนิดมาจากมนุษย์ผู้ทำบุญเจือปนด้วยโมหะ หลงผิดคิดว่าการฆ่าสัตว์ไม่บาปกรรม และผลกรรมทำให้มาเกิดเป็นครุฑ และมีกำเนิด 4 อย่าง คือเกิดขึ้นมาเอง เกิดในครรภ์มารดา เกิดในฟองไข่ และเกิดในเถ้าไคลหมักหมม ที่อยู่ของครุฑ คือป่าหิมพานต์ เชิงเขาสิเนรุราช สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ครุฑมีจะงอยปากแหลม เป็นครึ่งคนครึ่งนก มีปีกยาว มีกายใหญ่โต บินได้รวดเร็วในอากาศ เมื่อโผบินจะเกิดพายุพัด ครุฑเป็นศัตรูกับนาค หน้าที่ครุฑ คือพิทักษ์พระพุทธศาสนา ช่วยเหลือผู้มีศีลธรรม อ่อนน้อม ถ่อมตน มีความเคารพ ถือสัจจะ มีความกตัญญูกตเวที และมีมนตราวิเศษชื่อว่า อาลัมพายน์อีกด้วย
References
กรมศิลปากร. (2506). พระนารายณ์ทรงครุฑ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
ยมโดย เพ็งพงศา. (2521). ครุฑและนาคในวรรณคดีสันสกฤตและบาลี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ
มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสภา. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล. (2558). พุทธวจนะ. กรุงเทพฯ: สยาม.
ศานติ ภักดีคำ. (2556). ครุฑ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
พญาลิไท. (2509). ไตรภูมิพระร่วง. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ครุฑ. กรุงเทพฯ: ครุสภา.
ศาล มรดกไทย. (2558). ครุฑยุดนาค. กรุงเทพฯ: สยาม.
ส.พลายน้อย. (2554). ครุฑยุดนาค. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.
นักรบ พิมพ์ขาว. (2558). ครุฑ. กรุงเทพฯ: ธิงค์บียอนด์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.