ความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, การบริหารงาน, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงาน 2) เปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงาน และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 293 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test และการทดสอบค่าเอฟ F-Test และการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการสรุปเนื้อหานำเสนอแนวทาง ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ตามหลักอิทธิบาทธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ประชาชนที่มีการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการจัดการความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงาน พบว่า ความรักงานพอใจกับงานที่ทำอยู่ มีความพึงพอใจในตำแหน่งหน้าปฏิบัติงาน พัฒนาปลูกฝังคุณธรรมทางจิตใจให้บุคลากร ขยันหมั่นเพียรกับงาน พัฒนาความขยัน สร้างความรู้สึกให้เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์กร ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน เอาใจใสในการปฏิบัติงาน รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน สร้างจิตสำนึกในการทำหน้าที่ของตน และการพินิจพิเคราะห์หรือการทำความเข้าใจ มีการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น วางแผนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ร่วมกันเสมอ เพื่อให้การปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์ โดยไตร่ตรองใช้สติปัญญาพิจารณาด้วยเหตุผล จะเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งตัวเอง องค์กร และประชาชน
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2548). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
จิตปราณี อึ้งวิฑูรสถิตย์. (2565). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 12(1), 18-32.
เทศบาลตำบลบ่อเกลือใต้. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565). น่าน : เทศบาลตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน.
พีระภัฒน์ ระรื่นรมย์. (2561). การบริหารจัดการการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของเทศบาลเมืองไร่ขิงจังหวัดนครปฐม. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ภิญโญ เข็มปัญญา. (2558). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานสาธารณะ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางยี่โท อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 2(1), 57-64.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 1.
สิน พันธุ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัทจูนพับลิชชิ่งจำกัด.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York : Harper and Row.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Education and Social Agenda

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Education and Social Agenda หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Education and Social Agenda ก่อนเท่านั้น