ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจกลับมารับชมคอนเสิร์ตหมอลําซํ้าของนักท่องเที่ยว กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องปัจจัยของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจกลับมารับชมคอนเสิร์ตหมอลำซ้ำของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในจังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการกลับมารับชมคอนเสิร์ตหมอลำซ้ำ ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน ผ่านวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในจังหวัดขอนแก่นมีความถี่ในการรับชมหมอลำทุกครั้งที่มีโอกาส จำนวน 127 คน คิดเป็นร้อยละ 31.8 ในด้านปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมต่อการกลับมารับชมคอนเสิร์ตหมอลำซ้ำ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมต่อการกลับมารับชมคอนเสิร์ตหมอลำซ้ำ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ในขณะที่การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Regression) ด้วยวิธี Stepwise พบว่า ปัจจัยผลักดันด้านต้องการหลีกหนีความจำเจในชีวิตประจำวัน ปัจจัยดึงดูดด้านความเหมาะสมด้านราคาและความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายในการชมหมอลำ ปัจจัยดึงดูดด้านภาพลักษณ์และชื่อเสียงของวงหมอลำที่แสดงปัจจัยดึงดูดด้านความสะดวกในการเดินทางไปรับชมหมอลำ และปัจจัยดึงดูดด้านความน่าสนใจของวัฒนธรรมผ่านการแสดงหมอลำ มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมต่อการกลับมารับชมคอนเสิร์ตหมอลำซ้ำของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในจังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ใน วารสารนวัตกรรมการจัดการและบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว
References
ฉัตรชัย พิศพล. (2565, กันยายน – ตุลาคม). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของแฟนคลับหมอลำวงระเบียบ
วาทะศิลป์. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(48), 218-233. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/download/258095/176058/991098
ฐิติมา รัตนพงษ์. (2558). ผลกระทบของความผูกพันและความพึงพอใจที่มีต่อแนวโน้มการกลับมาเที่ยวซ้ำยังแหล่ง
ท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์). สืบค้นจาก https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/10155/1/404655%20(1).pdf
ทองพูล ภูสิม, วิมลมาศ ปฐมวณิชกุล, ศักดิ์พงศ์ หอมหวล และ ทรงศักดิ์ จีระสมบัติ (2558, มกราคม - เมษายน).
วิช วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 137-146. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/99311/77180
บุษราภรณ์ กอบกิจพานิชผล และ พลากร แก้วทิพย์. (2565, กรกฎาคม - ธันวาคม). การวิเคราะห์พฤติกรรมการ
ท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางเพศในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 17(2), 89-108. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/download/258546/175755/1013845
ปัณณทัต ลำเฟือย และ อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2564, กรกฎาคม-กันยายน). การแสดงหมอลำคณะเสียงอิสาน.
วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3), 76-83 สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/soc-rmu/article/download/248422/169585/914407
พบพร โอทการนนท์ และ เยาวิภา ปฐมีศึิริิกุล. (2556, มกราคม - เมษายน). รูปแบบคุณภาพการบริการภาพลักษณ์
แหล่งท่องเที่ยว และความพึงพอใจ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการ ท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวของชาวยุโรปและอเมริกัน. วารสารธุรรมศาสตร์, 32(1), 35-56. สืบค้นจาก http://tujournals.tu.ac.th/thammasatjournal/detailart.aspx?ArticleID=28
พรพิมล ลอแท และ มนตรี พิริยะกุล. (2562, กันยายน-ธันวาคม). อิทธิพลของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว คุณ
ค่าที่รับรู้ ความคุ้นเคย และภาพลักษณ์ที่มีต่อความภักดีต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ปลายทางประเทศไทย : การศึกษาเปรียบเทียบ ตัวแบบสมการโครงสร้างแบบพหุกลุ่มระหว่างเชื้อชาติของนักท่องเที่ยว. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(3), 198-214. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/download/241110/163973
รุ่งกานต์ แก้วเจริญ, สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, สุพิศ ฤทธิ์แก้ว, จินตนีย์ รู้ซื่อ, และ ญาณินี ทรงขจร. (2562, กันยายน-
ธันวาคม). แรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีต่อการร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้
เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(3), 143-163. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/download/241103/163970/830294
สิริญญา ชาติเผือก และ บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2562, พฤษภาคม - สิงหาคม). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ
เลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่ออุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 134-153. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/download/241054/163934/
สนัด วงศ์ทวีทอง, สิทธิพร อินทุวงศ์ และ ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ. (2566, (มกราคม–กุมภาพันธ์). แรงจูงใจของปัจจัย
ผลักและปัจจัยดึงที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(1), 69-82. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/260009/176948
สุพศิน รัตนภราดร. (2562). พฤติกรรมการเข้าชมคอนเสิร์ตของเจนเนอเรชั่นวายในประเทศไทย. สืบค้นจาก
https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2019/TU_2019_6102115067_11821_12246.pdf
วิชญ์ บุญรอด. (2564, มกราคม – เมษายน). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน: อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงมนุษย์. วารสาร
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 360-369 สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/download/241604/168567
วิภาดา เถาธรรมพิทักษ์, สิปปวิชญ์ วงศ์สุวัฒน์ และ ศิริกัญญา ทองเส้ง. (2565, กรกฎาคม – ธันวาคม). แรงจูงใจของ
นักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา, วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 17(2), 56-68. สืบค้นจาก https://eds.trang.psu.ac.th/mis/expert_system/file/20221222-093556.pdf
วีรภัทร์ ดาวเรื่อง. (2564). ค่านิยมทางสังคม แรงจูงใจปัจจัยผลักและปัจจัยดึงของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีอิทธิพลต่อ
ความภักดีในการท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์สูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์). สืบค้นจาก https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Wiraphat.Daor.pdf
ศรกมล ไทยภักดี. (2560). การศึกษาความพึงพอใจ ภาพลักษณ์ และความภักดีต่อเทศกาลดนตรีในประเทศไทย.
สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2669
ศิวัช คงทอง. (2565). แรงจูงใจในการท่องเที่ยว และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาเยือนซ้ำ
ของนักท่องเที่ยวชาวไทย : กรณีศึกษาเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์). สืบค้นจาก https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Siwat.Kong.pdf
Mohammad, B., & Mat Som, A. (2010, December). An Analysis of Push and Pull Travel Motivations of
Foreign Tourists to Jordan. International Journal of Business and Management, 5(12), 41-50. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/49586558_An_Analysis_of_Push_and_Pull_Travel_Motivations_of_Foreign_Tourists_to_Jordan
Betsy, N., & Gloria, H. (2018). An Integrated Cognitive Perspective of Travel Motivation and Repeated
Travel Behaviour. Annals of Cognitive Science, 2(1), 60-68. Retrieved from https://scholars.direct/Articles/cognitive-science/acs-2-009.pdf
Salsabila, N., & Alversia Y. (2019, October). Examining Push-Pull Motivation and Travel Intention for
Potential Travelers in Indonesia Using Theory of Planned Behaviour. Tourism Development Centre International Conference (TDCIC), 38-48. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/347064369_Examining_Push-Pull_Motivation_and_Travel_Intention_for_Potential_Travelers_in_Indonesia_Using_Theory_of_Planned_Behaviour
Meleddu, M., Paci, R., & Pulina, M. (2015, October). Repeated behaviour and destination loyal-ty.
Tourism management, 50, 159-171. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0261517715000357
MGR Online. (2566). ททท.ชูหมอลำเป็นจุดขายการท่องเที่ยวอีสาน สู่การเดินทางทั่วไทย. สืบค้นจาก
https://mgronline.com/uptodate/detail/9660000023261#google_vignette
Munhurrun, P. R., Naidoo, P., Seebaluck, N. V., & Puttaroo, A. (2018, June). THE EFFECTS OF PUSH
AND PULL TRAVEL MOTIVATION ON TOURIST EXPERIENCE, TOURIST SATISFACTION AND LOYALTY. 8th ADVANCES IN HOSPITALITY AND TOURISM MARKETING AND MANAGEMENT (AHTMM) CONFERENCE, 838-844. Retrieved from https://tinyurl.com/ycydexwx
Sanjaya, S., & Yuliastanty, S. (2018). The Effect of the Marketing Mix Service on Loyalty of Customers
with the Satisfaction of Service as Intervening Variables in Pt Mandala Multifinance Padang City. Jurnal Ilmiah Pendidikan Scholastic, 1(2), 179-195. Retrieved from https://e-journal.sastra-unes.com/index.php/JIPS/article/view/279/276
Wijaya, S., & Kusuma, C. (2018, August, 02). Travel motivation of Indonesian seniors in choosing
destination overseas. International Journal of Culture, Tourism and Hospitality Research, 12(2) 185-197. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/326067826_Travel_motivation_of_Indonesian_seniors_in_choosing_destination_overseas