การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าโดยใช้วิธีฮิวริสติกส์อัลกอริทึ่มแบบประหยัด กรณีศึกษา : ร้าน ABC จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง

Main Article Content

รดาศา เนตรแสงสี
ธิติมา ไวพา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประยุกต์ใช้วิธีฮิวริสติกส์อัลกอริทึ่มแบบประหยัดในการจัดเส้นทางการขนส่ง กรณีศึกษา ร้าน ABC จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดเส้นทางแบบเดิมกับการจัดเส้นทางด้วยวิธีฮิวริสติกส์อัลกอริทึ่มแบบประหยัด กรณีศึกษา ร้าน ABC จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Interviews for Qualitative Research) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการร้าน จำนวน 1 คน  พนักงานธุรการ จำนวน 3 คน และพนักงานขับรถบรรทุก 6 ล้อ ประจำแต่ละคัน จำนวน 10 คน ของร้าน ABC จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยวิธีสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เป็นวิธีสัมภาษณ์ที่มีการจัดเตรียมข้อคำถามไว้เป็นชุดคำถามที่สมบูรณ์ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้วิธีฮิวริสติกส์อัลกอริทึ่มแบบประหยัด (A Savings Algorithm) และทำการเปรียบเทียบวิธีแบบเดิมกับวิธีแบบใหม่


            ผลการวิจัย พบว่า การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าแบบเดิม ใช้ระยะทางในการขนส่งรวมทั้งหมด 2,559 กิโลเมตร ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรวมทั้งหมด 89,411.46 บาท แต่เมื่อใช้การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าด้วยการประยุกต์ใช้วิธีฮิวริสติกส์อัลกอริทึ่มแบบประหยัด (A Savings Algorithm) ในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าจำนวน 20 คน โดยแบ่งออกเป็น 10 เส้นทาง เส้นทางละคู่ ใช้ระยะทางในการขนส่งรวมทั้งหมด 2,333 กิโลเมตร ลดลง 226 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 8.83 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรวมทั้งหมด 73.094.48 บาทต่อครั้ง ลดลง 16,316.98 บาทต่อครั้ง คิดเป็นร้อยละ 18.25 ซึ่งสามารถลดระยะทางในการขนส่งสินค้าให้มีระยะทางที่สั้นลง ทำให้ต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง และส่งผลทำให้ผู้ประกอบการมีกำไรเพิ่มมากขึ้นจากการปรับปรุงเส้นทางการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นจริงและสอดคล้องตามที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้

Article Details

How to Cite
เนตรแสงสี ร., & ไวพา ธ. . (2025). การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าโดยใช้วิธีฮิวริสติกส์อัลกอริทึ่มแบบประหยัด กรณีศึกษา : ร้าน ABC จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง. วารสารนวัตกรรมการจัดการและบริหารธุรกิจ, 2(1), 4–18. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/1057
บท
บทความวิจัย

References

น้ำฝน พาพันธ์ และภัทรานิษฐ์ แก้วประดิษฐ. (2563). การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าโดยวิธีอัลกอริทึมแบบ ประหยัดกรณีศึกษา : โรงงานเม็ดพลาสติก. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการจัดการ และโลจิสติกส์ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตรมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 ธันวาคม 2566. จาก https:ต่อต่อn9.clต่อ24o8ph

รดาศา เนตรแสงสี (2566). การจัดการเส้นทางและตารางเวลาในการขนส่ง. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการ

จัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วรพนธ์ ชีววรนนท์ตรี และณัฐพล บุญรักษ์. (2560). วิธีฮิวริสติกสำหรับการจัดเส้นทางพาหนะเพื่อลดต้นทุนทุนการ

ขนส่ง กรณีศึกษา: บริษัทผ้าม่าน. สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2564). การสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยเชิงคุณภาพ Interviews for Qualitative Research.

วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม. ปีที่ 1, ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2564

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย ประจำปี 2566.

สืบค้น วันที่ 31 มกราคม 2566. จาก

https://www.nesdc.go.th/download/logistics/report/LogisticsReportTH.pdf

Bangchak. (2566). ราคาน้ำมันย้อนหลัง. สืบค้น วันที่ 31 มกราคม 2566. จาก

https:www.bangchak.co.th

Clarke, J. K., & Wright, W. R. (1964). Scheduling deliveries to a predetermined number

of customers. Journal of the Operational Research Society, 16(1).

Elshaer, R., & Awad, H. (2020). A taxonomic review of metaheuristic algorithms for solving the vehicle

routing problem and its variants. Computers & Industrial Engineering, 140, 106242.

Mohammed, M. A., Abd Ghani, M. K., Hamed, R. I., Mostafa, S. A., Ahmad, M. S., & Ibrahim, D. A. (2017).

Solving vehicle routing problem by using improved genetic algorithm for optimal

solution. Journal of computational science, 21, 255-262.