ผลกระทบของศักยภาพในวิชาชีพบัญชีและการพัฒนาศักยภาพที่มีต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของ ผู้ทําบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ปวีณา หมื่นสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของศักยภาพในวิชาชีพบัญชี ประกอบด้วย ความรู้ความสามารถในวิชาชีพบัญชี ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพการปฏิบัติงานในแต่ละด้านของผู้ทำบัญชี 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการพัฒนาศักยภาพของผู้ทำบัญชี ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพการปฏิบัติงานในแต่ละด้านของผู้ทำบัญชี รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ทำบัญชีตามกฎหมายไทยหรือผู้ขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีฯที่สถานะยังคงอยู่ การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลจากแบบสอบถามที่สอบถามระดับความเห็น ศึกษาข้อมูลทุติภูมิ ได้แก่ หนังสือวิชาการ เอกสารวารสาร รายงานการวิจัย สิ่งพิมพ์และการสืบค้นข้อมูลทางเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้ทำบัญชีไทยตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีที่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีฯ หรือผู้ขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีฯ ตามข้อมูลสถิติผู้ทำบัญชีล่าสุด ในรายงานประจำปี
พ.ศ. 2564 สภาวิชาชีพบัญชี มีจำนวนผู้ทำบัญชีรวม 88,550 คน จากการใช้ตารางของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และยอมรับความคลาดเคลื่อนในการเลือกตัวอย่าง 5% ได้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 396 คน เพื่อลดความคลาดเคลื่อน จึงกำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เพื่อให้ข้อมูลน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น 


            ผลการวิจัยพบว่าผลกระทบของศักยภาพในวิชาชีพบัญชีและการ พัฒนาศักยภาพที่มีต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของ ผู้ทําบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในทุกด้านในทุกด้าน โดยมีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ระหว่าง 0.705 ถึง 0.921 ค่าความทนทาน Tolerance อยู่ ระหว่าง 0.129 ถึง 0.544 ค่า Variance inflation factor ของตัวแปรค่าสูงสุดเท่ากับ 7.780 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และผลจากการวิเคราะห์ค่าสถิติค่า Durbin-Watson อยู่ในระดับ 1.722 ซึ่งหมายความว่าตัวแปรอิสระไม่มีความสัมพันธ์กันเอง จึงสามารถผ่านเกณฑ์ข้อจำกัดเพื่อทดสอบที่จะต้องอยู่ในช่วง 1.50 – 2.50 จึงสามารถทดสอบสถิติการถดถอยแบบพหุคูณได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษมาพร ยังส้มป่อย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะบัญชี, มหาวิทยาลัย

ศรีปทุม.

ปุญญาดา จงละเอียด. (2560). ปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช.

พิมพ์พิศา วรรณวิจิตร และปวีนา กองจันทร์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน กองบริหารวิชาการและนิสิต.

ภัสภูมิ สุขสงวน. (2562). ศักยภาพและประสิทธิภาพของนักบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพงบการเงินของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เมธสิทธิ์ พูลดี. (2550). การบัญชีบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

ลิลตา แว่นแก้ว. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ลักษณ์พิมล ทินกร. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงและคุณภาพการให้บริการของสถานศึกษาภาครัฐในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). คณะบัญชี, มหาวิทยาลัย

ศรีปทุม.

วราภรณ์ ชัชกุล. (2560). ผลกระทบมาตรฐานการปฏิบัติงานจรรยาบรรณในวิชาชีพบัญชี และการพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุภาพร แช่มช้อย. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางปฏิบัติงานของนักบัญชีไทย. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี, 3(10), 73-80.

สิบเอกหญิงอรอุษา ด้วงช้าง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้ทำบัญชีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

อรณี ศรีคำมูล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพกับความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชี: กรณีศึกษานักบัญชีในธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1).

อัมไพวรรณ์ หมื่นแสน. (2561). ความเสี่ยงในการสอบบัญชี: กรณีศึกษาผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.