แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6

ผู้แต่ง

  • Phairoj Bangsriwong -

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การบริหารงาน, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 และ 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญในการศึกษาการบริหารและปัญหาในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ได้แก่ 1.กลุ่มงานช่วยอำนวยการ 2.กลุ่มงานคลัง 3.กลุ่มงานคดี 4.กลุ่มงานนิติการและไกล่เกลี่ยประนอม และแนวทางในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญได้แก่ 1.กลุ่มผู้บริหาร 2.กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และ 3.กลุ่มนักวิชาการด้านกฎหมายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และวิธีการจัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า

  1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ในแต่ละด้านประกอบไปด้วย 1.1 หลักนิติธรรม มีการเผยแพร่ รวมถึงทบทวน ปรับปรุง เรื่องกฎ ระเบียบของหน่วยงาน แก่ผู้รับบริการและประชาชน ทั่วไป ที่มารับบริการ 1.2 หลักคุณธรรม มีการกำหนดจรรณยาบรรณของหน่วยงานและของข้าราชการภายในสำนักงานศาลแรงงานภาค มีการสร้างระบบเครือข่ายการส่งเสริมหลักคุณธรรมระหว่างหน่วยงานต่างๆ และกลุ่มภายในสำนักงาน 1.3 หลักความโปร่งใส มีการสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงานรวมถึงสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน มีระบบให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป             1.4 หลักการมีส่วนร่วม มีการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องการมีส่วนร่วมแก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ตลอดจนมีการสร้างหลักประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้มีส่วนร่วม 1.5 หลักความรับผิดชอบ มีการสร้างจิตสำนึกเรื่องความรับผิดชอบของตนเอง มีมาตรฐานหรือข้อกำกับความประพฤตินักบริหาร 1.6 หลักความคุ้มค่า มีการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และกำหนดเป้าหมายและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
  2. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ในแต่ละด้านประกอบไปด้วย 1.1 หลักนิติธรรม พื้นฐานความรู้ด้านกฎหมายและระเบียบต่างๆของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานไม่เท่ากัน การฝึกอบรมความรู้ ความเข้าใจ ในหลักนิติธรรม ยังดำเนินการไม่เพียงพอ 1.2 หลักคุณธรรม ปัญหาการสร้างระบบเครือข่ายและการส่งเสริมหลักคุณธรรม จริยธรรมระหว่างหน่วยงานและกลุ่มงาน 1.3 หลักความโปร่งใส ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลในเชิงลึกบางกลุ่มงานไม่สามารถเข้าถึงได้ การถูกจำกัดด้วยข้อกฎหมาย 1.4 หลักการมีส่วนร่วม ปัญหาด้านการกระจายอำนาจ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การสร้างทัศนคติ การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ 1.5 หลักความรับผิดชอบ ปัญหาด้านการนำหลักธรรมาภิบาลหลักความรับผิดชอบมาใช้ในการบริหารงานยังไม่ชัดเจน 1.6 หลักความคุ้มค่า ปัญหาด้านอัตรากำลังที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน การใช้ทรัพยากรที่มีของกลุ่มงานบางกลุ่มงานยังไม่ชัดเจน
  3. แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ในแต่ละด้านประกอบด้วย 3.1 หลักนิติธรรม ต้องมีการพัฒนาพื้นฐานความรู้และการพัฒนาด้านกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานให้มีความสอดคล้องกันในแนวทางการปฏิบัติ รวมถึงจัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรทุกกลุ่มงานเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ หลักนิติธรรม หลักประชาธิปไตย และหลักธรรมาภิบาลที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของศาลแรงงาน ภาค 6 คือ หลักการ หลักเกณฑ์ หลักฐาน 3.2 หลักคุณธรรม เพิ่มการสร้างระบบเครือข่ายและการส่งเสริมหลักคุณธรรม จริยธรรมระหว่างหน่วยงานและกลุ่มงาน ปลูกฝังการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรภายในองค์กร โดยมีตัวแทนภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 3.3 หลักความโปร่งใส รักษามาตรฐานการดำเนินงานด้านความโปร่งใสให้อยู่ในระดับดีมากและรักษาวัฒนธรรมในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ 3.4 หลักการมีส่วนร่วมให้มีการจัดรูปแบบการดำเนินงานกระจายอำนาจ การบริหารในหน่วยงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ให้มีการเปิดช่องทางในการแก้ไขปัญหา 3.5 หลักความรับผิดชอบ จัดกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับบุคลากรให้มีความตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจัดบุคลากรให้ตรงกับความรู้ความสามารถตามภารกิจงานตามหน้าที่รับผิดชอบ สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน 3.6 หลักความคุ้มค่า ปรับโครงสร้างและอัตรากำลัง หมุนเวียนงานเพื่อให้การปฏิบัติงานและพัฒนาบุคลากรเป็นไปมีประสิทธิภาพเพิ่มการวางแผนเชิงระบบเพื่อวิเคราะห์ เป้าหมาย การวางแผน ให้มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน ใช้ทรัพยากรรวมถึงบุคลากรที่เหมาะสมกับภาระงาน

คำสำคัญ: แนวทางการพัฒนา, หลักธรรมาภิบาล

ประเภทบทความ: บทความวิจัย

 

References

กชธัญ อ้นยะ. (2564). การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงาน

อัยการสูงสุด กรณีศึกษา. สำนักงานอัยการจังหวัดน่าน. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566

จาก https://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2563_1629861064_6214832035.pdf

ทิวากร แก้วมณี. (2559). ธรรมาภิบาล = Good governance. กรุงเทพฯ

นัสรีน อับดุลเลาะ. (2558). การใช้หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการบริหารงานสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15. วิทยานิพน์การศึกษา

มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ประธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ประเวศ วะสี. (2542). ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคมและศีลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ศิริพร สุเมธารัตน์. (2556). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุเมธ ม่วงไม้. (2560). ธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมศาลแรงงานกลาง. สืบค้นเมื่อ 26

ตุลาคม 2566. จาก https://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2560_1561118931_6014830035.pdf.

แสงชัย อภิชาตธนพัฒน. (2559). หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัย

รัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-28