แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชัน Y ในจังหวัดนครสวรรค์จากสื่อออนไลน์

ผู้แต่ง

  • Saowalak Jailar Nakhon Sawan Provincial Administrative Organization

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การท่องเที่ยว, กลุ่มเจเนอเรชั่น Y, สื่อออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชัน Y ในจังหวัดนครสวรรค์ จากสื่อออนไลน์ (2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการวางแผนการสื่อสารการตลาดกับกลุ่มเจเนอเรชัน Y ของผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ การวิจัยรูปแบบเชิงปริมาณ นักท่องเที่ยวชาวไทยเจเนอเรชั่นวาย มีอายุระหว่าง 18 - 38 ปี  ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 385 คน ใช้แบบะแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26 - 29 ปี  สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี  รายได้รวมเฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 30,000 บาท และภูมิลำเนาภาคกลาง (2) ด้านพฤติกรรมการเข้าใช้สื่อออนไลน์ เพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย มีความถี่ในการเข้าใช้สื่อออนไลน์ 3 - 4 ครั้ง/วัน ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้สื่อออนไลน์ 3 - 4 ชั่วโมง/วัน  ช่วงเวลาที่สะดวกในการเข้าใช้สื่อออนไลน์ คือ 17.01 น. - 21.00 น. และผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการที่จะเดินทางท่องเที่ยวหลังจากเข้าใช้สื่อออนไลน์ คือ เดินทางไปแน่นอน (3) ด้านพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยว  ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวกับเพื่อน โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยในการเดินทางท่องเที่ยวแต่ละครั้งคือ 1 - 2 วัน จำนวนครั้งที่เดินทางท่องเที่ยวในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา คือ 1 - 2 ครั้ง และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเดินทางท่องเที่ยวต่อครั้ง 1,000 - 4,000 บาท (4) ด้านแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชัน Y ในจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจด้านสิ่งดึงดูดใจ เป็นอันดับแรก รองลงมาด้านการคมนาคม  ด้านการคมนาคม  และด้านอำนวยความสะดวก ตามลำดับ

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้น 2 มกราคม 2567 จาก https://www.mots.go.th.

กุลธิดา คำวงค์ษา. (2566). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยเจนเนอเรชันวายต่อการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:171824

จิรดาภา สนิทจันทร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวกรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จุติพร ดำสงค์. (2560). แรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้ออาหารประเภทฟู้ดทรัคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

จีราพร อัศวปยุกต์กุล. (2560). การศึกษาเรื่องสื่อออนไลน์ต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศของเจเนอเรชันวาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2251.

เจษฎ์สิตา จารุวรางค์รัตน์. (2566). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศด้วยตนเองของนักท่องเที่ยวชาวไทยเจเนอเรชั่นวายในพื้นที่กรุงเทพมหานครหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชิดชม กันจุฬา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทยกรณีศึกษาจังหวัดอ่างทอง. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(2), 65-80. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://bit.ly/3MQlWtp.

ธนกฤต อนรรฆมาศ. (2567). การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรกลุ่มคนรุ่นใหม่ (Generation Y) เกี่ยวกับทักษะซอฟท์สกิล (Soft Skills) ที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานสู่ความสำเร็จของสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย (ปฏิบัติราชการที่สำนักอนามัยผู้สูงอายุ). กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์, สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย (ปฏิบัติราชการที่สำนักอนามัยผู้สูงอายุ).

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

เบญจมาศ อยู่คง, กมลวรรณ จิ้มกระโทก, อนงค์นาค ลานุสัตย์, อังสุมาลิน จำนงชอบ. (2564). การศึกษาแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชันวายในกรุงเทพมหานครจากแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok). คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พริฏฐา หิรัญยะศาสตร์. (2566). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการแสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พุทธชาติ ทองนาค และสุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.baabstract.ru.ac.th/index.php/abstractData /viewIndex/173.

เพียงธาร ผลิพืช. (2564). การศึกษาแรงจูงใจในการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เมลดา ธนิตนนท์. (2560). การศึกษาแรงจูงใจและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวบ้านบางเขน. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วนิดา เลิศพัฒนานนท์. (2561). รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 134-149.

สายฝน ไชยศรี. (2566). ระเบียบวิธีการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิภัทร อัมพวรรณ. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารอย่างรู้เท่าทันสื่อของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สมหทัย จารุมิลินท. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเดินทางมาท่องเที่ยวซ้ำในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของนักท่องเที่ยวที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

United Nations, Department of Economic and Social Affairs. (2008). World economic situation and prospects 2008. United Nations. https://www.un.org/development/desa/dpad/publication/world-economic-situation-and-prospects-2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27