ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชน ที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • kanokporn wongwilawan -

คำสำคัญ:

ความไว้วางใจทางการเมือง, นักการเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความไว้วางใจทางการเมือง 2) เปรียบเทียบความไว้วางใจทางการเมือง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบขั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าถดถอยพหุคูณ T-test F-test และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความไว้วางใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความไว้วางใจทางการเมือง พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความไว้วางใจทางการเมือง ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อาชีพ และสถานภาพ แตกต่างกัน มีความไว้วางใจทางการเมือง ในภาพรวม ไม่แตกต่าง 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจ พบว่า ด้านความโปร่งใส ด้านการระดมทางการเมือง ด้านการสื่อสารทางการเมือง ด้านทุนทางสังคม และด้านการเมืองในระบบราชการ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอิทธิพลทางบวก โดยมีสมการพยากรณ์ดังนี้

          สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

          y^= 0.785 + 0.174 (X1) + 0.198 (X2) + 0.163 (X3) + 0.125 (X4) + 0.143 (X5)

          สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

          z^= 0.200 (Z1) + 0.272 (Z2) + 0.185 (Z3) + 0.147 (Z4) + 0.165 (Z5)

References

โกวิทย์ พวงงาม. 2554. การปกครองท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

จักรพงษ์ หนูดำ. (2556). ความไว้วางใจของประชาชน ที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตำบล: กรณีศึกษา กรณีศึกษาเปรียบเทียบองค์การบริหารส่วนตำบลช่องกับองค์การบริหารส่วนตำบลปลักหนู. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชิตพล กาญจนกิจ. (2545). ความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเมืองท้องถิ่นไทย : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระนิรุต ญาณวุฑฺโฒ และพระอภิวัชร์ อภิวชฺชโร. (2565, มกราคม-มิถุนายน). นักการเมืองท้องถิ่นในระบบราชการ. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์. 5(1): 177-194.

พระกฤษฎา กิตฺติปญฺโญ. (2567). ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์).มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์ และคณะ. (2558). บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร. 3(2): 146-161.

พิธุวรรณ กิติคุณ (2563). การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น: การจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567 (ออนไลน์). จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=71420&filename=house2558_2.

ไพบูลย์ ช่างเรียน. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์ความไว้วางใจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทย. วารสารรัชต์ภาคย์. 14(35): 55-60.

ภัคสิริ แอนิหน และวัชรินทร์ ชาญศิลป์. (2567). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ. 7(1): 44-56.

ยุภา นารินนท์. (2563). ผู้นำท้องถิ่นกับการสื่อสาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร.วิทยาเขตอีสาน. 1(3): 38-44.

วสันต์ จิสวัสดิ์. (2562). ความไว้วางใจทางการเมืองของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาค. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 11(2): 164-177.

อภิชิต เหมือยไธสง. (2561). ความไว้วางใจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัญฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

Agger, Robert E, Marshall N.Goldstein and Stanley A.Pearl. (1961, February ). Political cynicism: measurement and meaning. The Journal of Politics 23 : 477-506.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26