แนวทางการพัฒนาการคงอยู่ของบุคลากร โรงงานวัตถุระเบิดทหารกรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
คำสำคัญ:
การคงอยู่ในงาน, บุคลากรบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการคงอยู่ของบุคลากร 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของบุคลากร และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการคงอยู่ของบุคลากร โรงงานวัตถุระเบิดทหาร กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 212 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการคงอยู่ของบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของบุคลากร โรงงานวัตถุระเบิดทหารฯ พบว่า ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านผลตอบแทน ด้านการสนับสนุนขององค์กร ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านภาวะผู้นำ และด้านความรับผิดชอบในงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการพัฒนาการคงอยู่ของบุคลากร โรงงานวัตถุระเบิดทหารฯ มีดังนี้ (1) ด้านการพัฒนาความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (2) ด้านการพัฒนาด้านผลตอบแทน (3) ด้านการพัฒนาด้านการสนับสนุนจากองค์กร (4) ด้านการพัฒนาด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (5) ด้านความรับผิดชอบในงาน และ
(6) การพัฒนาภาวะผู้นำ
References
กันติทัต โกมลเสนาะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของพนักงานมหาวิทยาลัย
เจเนอเรชั่นวายในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ในภาคใต้ของประเทศไทย.
วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. (รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เกษม แก้วสนั่น, และเพ็ญศรีฉิรินัง. (2564, ตุลาคม–ธันวาคม). การจัดการองค์กรไปสู่ความสำเร็จ. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 6(4): 88-100.
จุไรวรรณ บินดุเหล็ม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการและลูกจ้าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. (รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ชัชชม ทัพชุมพล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์กร ของพนักงานมหาวิทยาลัย สายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
ณัฐณิชา ขยายแย้ม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในที่ทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพย์ชนก เสนผดุง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมการข้าว.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระวุฒิ ตรีประสิทธิ์ชัย. (2557). ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรในอุตสาหกรรมการโรงแรมระดับ 5 ดาวในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นันท์นลิน เทพคง. (2563). อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีต่อการคงอยู่ในงานของข้าราชการตำรวจกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. (รัฐประศาสนศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิศาชล ภูมิพื้นผล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท
เดล แมกซ์ แมชินเนอรี่ จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการวิศวกรรมธุรกิจ). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุรพัชร์ ด่านวิไล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน กรณีศึกษาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานกลาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ปาริชาติ วิเศษรัตน์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาบุคลากรฝ่ายบริการลูกค้าของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการองค์กรเภสัชกรรม). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชญา แสงแก้ว. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติการคงอยู่ของข้าราชการชั้นสัญญาบัตร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
(รัฐประศาสนศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตน์สินี รื่นนุสาน. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศการศึกษาและพัฒนา). (ครุศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลลิตา จันทร์งาม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ กลุ่มลูกค้าบุคคล. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วสุ จ้อยสองสี. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของบุคลากร กรณีศึกษาสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. (การจัดการวิศวกรรมธุรกิจ). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิภาวี ศักดิ์ศรี. (2561). ปัจจัยการธำรงรักษาคนเก่งให้คงอยู่ในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ดี เอ็น ที อินสเป็คชั่น เซอร์วิส จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจญี่ปุ่น). สถาบันเทคโนโลยีไทย ญี่ปุ่น.
ศิริศักดิ์ จังคศิริ, และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564, มกราคม-เมษายน). บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไประดับมาตรฐานแห่งหนึ่งสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. วารสารศิลปการจัดการ. 5(1): 192-205.
ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร. (2566). แผนการบริหารทรัพยากรบุคคล ระยะยาว 3-5 ปี (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สิทธิศักดิ์ ฉันทวโร. (2561). ปัจจัยการคงอยู่ในงานต่อความผูกพันต่อองค์การของอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ). สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
สุดาพร ทองสวัสดิ์. (2562). สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาความผูกพันต่อองค์การจุลจอมเกล้า. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อนันตชัย ศิริสูงเนิน. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการปฏิบัติหน้าที่และความผูกพันองค์กรของเจ้าหน้าที่ศุลกากร กรณีศึกษา สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อินทร ปันทา, พิศุทธ์ อุดร และกัญญาณัฐ อาวรณ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานการวิจัย.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Sigler, K.J. (1999, October). Challenges of employee retention. Management Research News. 22(10): 1-5.