[บทความถูกเพิกถอน]การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการให้บริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • อภิวัฒน์ สัณฐาน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

บทความนี้ถูกเพิกถอนตามคำขอของบรรณาธิการบริหาร:

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการให้บริการ 2) เปรียบเทียบระดับการให้บริการ 3) ศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการให้บริการของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ จากแบบสอบถาม ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 353 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของประชาชนผู้เข้ารับบริการที่มีต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการให้บริการของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด พบว่า ด้านอัตถจริยา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.43 รองลงมา คือ ด้านทาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 ด้านปิยวาจา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และด้านสมานัตตตา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนผู้เข้ารับบริการที่มีต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการให้บริการของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการให้บริการของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. แนวทางการสร้างการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการให้บริการของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานควรให้ความสนใจในการดูแลเอาใจใส่ และช่วยแก้ไขปัญหาเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติงาน เปรียบเสมือนทุกคนในองค์กรเป็นครอบครัว ควรส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพทุกคนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจ ผลการปฏิบัติงานก็จะออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ ควรบริหารจัดการเรื่องอำนาจหน้าที่ งานที่รับผิดชอบให้เหมาะสม การกระจายงานให้เหมาะสมกับกับความสามารถของพยาบาลวิชาชีพ ผู้บังคับบัญชาควรส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพ ได้ร่วมประชุม ฝึกอบรม ดูงาน เพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ความสามารถอยู่เสมอ ควรจัดโครงการอบรมเกี่ยวกับธรรมะเข้ามาขัดเกลา ควรมีการวางแผนงานที่จะปฏิบัติ เวลาที่เหมาะสม ลดขั้นตอน ถูกกฎระเบียบในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ควรปรับเงินเดือนของพยาบาลวิชาชีพให้เหมาะสมกับปริมาณงานและความรับผิดชอบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)