การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • โยธิน นันทา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, หลักธรรมาภิบาล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์  จังหวัดเพชรบูรณ์  และเปรียบเทียบทัศนคติของบุคลากรภายในองค์กรต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์  จังหวัดเพชรบูรณ์  จำแนกตามเพศ  อายุ  ตำแหน่ง  รายได้ และระดับการศึกษา   ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัย  เชิงปริมาณและเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงาน  พนักงานจ้างและผู้นำชุมชนในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์  จังหวัดเพชรบูรณ์  จำนวน 287 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วย LSD ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า 1.) บุคลากรภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์  เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง   มีอายุระหว่าง 31-40 ปี   มีระดับการศึกษาปริญญาตรี  ส่วนมากมีตำแหน่งเป็นพนักงานและมีรายได้ระหว่าง 10,001-20,000 บาท  2.) ทัศนคติเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์  จังหวัดเพชรบูรณ์  เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด หลักประสิทธิผล  หลักการตอบสนอง  หลักการมีส่วนร่วม  และหลักความเสมอภาค  อยู่ในระดับมากที่สุด  ส่วนหลักประสิทธิภาพ หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลักการกระจายอำนาจ หลักนิติธรรม และหลักมุ่งฉันทามติ อยู่ในระดับมาก และผลการทดสอบสมมติฐาน  พบว่าบุคลากรภายในองค์กรที่มีเพศ และระดับการศึกษาต่างกัน  มีทัศนคติต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์  จังหวัดเพชรบูรณ์  ไม่แตกต่าง  ส่วนบุคลากรภายในองค์กรที่มีอายุ ตำแหน่ง และรายได้ต่างกัน  มีทัศนคติต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์  จังหวัดเพชรบูรณ์  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)