บั้งไฟน้อย: แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านหนองยางน้อย ตำบลหัวช้าง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ศิวกร คำใบ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • จำรัสลักษณ์ เจริญแสน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สัจจวรรณฑ์ พวงศรีเคน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • อรทัย พงษ์แก้ว สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

แนวทาง, การอนุรักษ์, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์ เชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม 1) ผู้ใหญ่บ้าน 2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3) คณะกรรมการหมู่บ้าน 4) ปราชญ์ชาวบ้าน 5) ประชาชน และ 6) กลุ่มทำบั้งไฟน้อย แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรม และแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา  ผลการศึกษาประเด็นแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการอนุรักษ์ พบว่า การทำบั้งไฟน้อยเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับชุมชนมาเป็นเวลานานและสืบทอดสานต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้แล้วก็ซึมซับการทำบั้งไฟน้อย เพื่อที่จะได้มาสืบสานและพัฒนาบั้งไฟน้อยต่อไปในอนาคต 2) ด้านการพัฒนา พบว่า การพัฒนาบั้งไฟน้อยมีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนการผลิต การเสนอข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนแนวคิดซึ่งกันและกันช่วยกัน เพื่อเป็นการต่อยอดในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ด้านการถ่ายทอดการ พบว่า สืบทอดความรู้ภายในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นอาชีพของประชาชนแทบทุกครัวเรือน 4) ด้านการเผยแพร่แลกเปลี่ยน พบว่า สนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนภูมิปัญญา และวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง ประเด็นปัญหาและอุปสรรคแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า เยาวชนไม่นิยมการอนุรักษ์บั้งไฟน้อย ไม่มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยเหลือหรือการสนับสนับต่างๆจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถานการณ์โควิด 19 ไม่สามารถจำหน่ายบั้งไฟน้อยได้ และประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า ควรจะมีการปลูกฝังให้มีจิตนึกในการอนุรักษ์บั้งไฟน้อย โดยจัดกิจกรรมให้เยาวชนมีส่วนร่วมการทำบั้งไฟน้อย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)