แนวทางการอนุรักษ์โบราณวัตถุให้ยั่งยืน กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์บ้านเขียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วิลาสินี ภาวะพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • จำรัสลักษณ์ เจริญแสน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สัจจวรรณฑ์ พวงศรีเคน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • อรทัย พงษ์แก้ว สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

แนวทาง, การอนุรักษ์, โบราณวัตถุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1. ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์โบราณวัตถุให้ยั่งยืน กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์บ้านเขียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 2. เสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์โบราณวัตถุให้ยั่งยืน กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์บ้านเขียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม โดยวิธีการวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. เจ้าของพิพิธภัณฑ์ 2. ผู้ใหญ่บ้าน 3. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 4. คณะกรรมการหมู่บ้าน 5. ประชาชน และ 6. ปราชญ์ชาวบ้าน ผลการศึกษาประเด็น    แนวทางการอนุรักษ์โบราณวัตถุให้ยั่งยืน พบว่า การลงทะเบียนของโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์นั้นไม่ได้ลงทะเบียน เนื่องจากพิพิธภัณฑ์นั้นเป็นพิพิธภัณฑ์แบบปิด และการค้นพบนั้นเป็นการค้นพบด้วยตนเองและค้นพบในพื้นที่ส่วนบุคคล การเปิดพิพิธภัณฑ์และสถานที่ของพิพิธภัณฑ์เป็นที่ส่วนบุคคลไม่ใช่ของรัฐ จึงทำให้เข้าใจได้ว่าของที่ค้นพบทุกชิ้นนอกเหนือจากสมบัติของชาติ 9 อย่างนั้น เป็นสมบัติส่วนบุคคล และในพิพิธภัณฑ์ไม่ได้เก็บแค่โบราณวัตถุเพียงอย่างเดียวแต่เก็บรักษาวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ที่สืบทอดกันรุ่นต่อรุ่น เช่น  ผ้าเผวด ฆ้อง หม้อ ไห ฯลฯ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)