การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเมืองนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา
คำสำคัญ:
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล, ผู้บริหารสถานศึกษา, มัธยมศึกษานครราชสีมาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเมืองนครราชสีมาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาและ 2)เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในอำเภอเมืองนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาจำนวน 284 คนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามประกอบด้วย 2 ตอนซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.892สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า (t-test) และใช้สถิติเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเมืองนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรมรองลงมาคือด้านหลักความมีส่วนร่วมส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ด้านหลักความคุ้มค่า 2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลไม่แตกต่างกัน
References
ขันแก้ว พรมคำ. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเลย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เจนจิรา วงษ์อ้น และประมวล อุ่นเรือน.(2566).หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
ไชยวัฒน คำชู และคณะ. (2545). ธรรมาภิบาล : บทนำ. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพน้ำฝนจํากัด,
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
พระสรรชัย ชยธมฺโม (นิลเจียรนัย). (2558). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ
พระสมุห์วิเชียร จิตฺตสาโร,เจ้าอธิการบุญช่วย โชติวํโสและสุนทร สายคำ. (2563). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. Journal of Modern Learning Development, 5
พิชิต บุญทัน และพิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์.(2567).การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
สถาบันพระปกเกล้า.. 2544. ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล, กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
Best and Kahn James V. (1993). Research in Education. 7 th ed. Boston: Allyn and Bacon.