ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอหนองกุงศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอหนองกุงศรี สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 และ
2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอหนองกุงศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในสถานศึกษา อำเภอหนองกุงศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 181 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.812 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า (T-Test) และใช้สถิติเอฟ (F-Test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอหนองกุงศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการสื่อสารดิจิทัล รองลงมาคือ ด้านการสร้างนวัตกรรม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอหนองกุงศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอหนองกุงศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ไม่แตกต่างกัน
References
ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564). ภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(2), 50-64.
ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 13(2), 292.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ลัทธวรรณ วงษ์โพย. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
วราภรณ์ พวงสำเภา และชนมณี ศิลานุกิจ. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่มกรุงเทพตะวันออกสังกัดกรุงเทพมหานคร. คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนทราภรณ์ อินอ่อน และคณะ. (2566). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 9 (2), 81-91.
สุรีรัตน์ รอดพ้น. (2563). การศึกษาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อำนวย มีราคา. (2566). การบริหารจัดการศึกษา สู่ความเป็นเลิศ. สกลนคร: หจก.สมศักดิ์การพิมพ์ กรุ็ป.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research
Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.