รูปแบบและปัจจัยทางการเมืองว่าด้วยการโฆษณาแฝงในสื่อวิทยุกระจายเสียงชุมชน: กรณีศึกษาสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • พระมหาวิเศษ กนฺตธมฺโม วิทยาลัยสงฆ์จันทบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดจันทบุรี
  • นรา บรรลิขิตกุล วิทยาลัยสงฆ์จันทบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดจันทบุรี

คำสำคัญ:

การโฆษณาแฝง, สถานีวิทยุชุมชน, รูปแบบ, ปัจจัยทางการเมือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การศึกษารูปแบบของการโฆษณาแฝง  การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดการโฆษณาแฝง และการศึกษาการเมืองในกระบวนการบริหารของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก  โดยใช้วิธีวิทยาวิจัยเชิงคุณภาพ  การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร  การสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า  การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสนทนาเฉพาะกลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง โดยอาศัยแนวสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือ และการวิเคราะห์ข้อมูลการออกอากาศจากการรับฟังรายการต่าง ๆ ของทางสถานี จากนั้นนำมาทำการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า  ผลการศึกษามีข้อค้นพบว่า รูปแบบของการโฆษณาแฝงเป็นการดำเนินรายการโดยที่นักจัดรายการผ่านการพูดแทรกในเนื้อหารายการนั้นๆ  ส่วนปัจจัยที่กำหนดการโฆษณาแฝงนั้นพบว่าเป็นปัจจัยด้านผลประโยชน์โดยที่นักจัดรายการไม่มีค่าตอบแทนจากทางสถานี แต่ได้รับโอกาสให้แสวงหาผู้สนับสนุนแบบไม่เป็นทางการ มีการจำกัดจำนวนรายการโฆษณา และการได้ผลประโยชน์อื่นๆจากประชาชนผู้รับฟัง  ขณะที่การศึกษาการเมืองในกระบวนการบริหาร พบว่าสถานีแห่งนี้ใช้กระบวนการในการบริหารงานในแบบเครือญาติ

References

จุมพล รอดคำดี. (2564). รายงานประเมินประสิทธิภาพการใช้วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์.

ชวนสิทธิ์ สิริขันธ์. อดีตผู้อำนวยการวิทยุกรมประชาสัมพันธ์. เป็นผู้ให้สัมภาษณ์. จำลอง แสนเสนาะ เป็นผู้สัมภาษณ์. เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567 : ที่ วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคตะวันออก.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2546). สื่อมวลชนบนเส้นทางทุนิยม. กรุงเทพฯ : บริษัท เอดิสันเพรส โปรดักส์ จำกัด.

นิภาพร จำจรเมนุกูล. (2564). วิทยุชุมชน. วิทยานิพนธ์ คณะนิเทศน์ศาสตร์. จุฬาลากรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)