การบริหารจัดการที่ดี เพื่อเป็นองค์การที่พึงประสงค์ของประชาชน ในพื้นที่เทศบาลเมืองคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • เอกศิริ นิยมศิลป มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • พินัย วิถีสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • วศิน พรหมพิทักษ์กุล มหาวิทยาลัยชินวัตร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการที่ดี, องค์การที่พึงประสงค์, ประชาชนในพื้นที่

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการบริหารจัดการที่ดี เพื่อเป็นองค์การที่พึงประสงค์ของประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและการเปรียบเทียบการบริหารจัดการที่ดี ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นองค์การที่พึงประสงค์ของประชาชนในบริบทของธรรมาภิบาลของหน่วยงานของรัฐระดับท้องถิ่น ในการปฏิบัติและบริการแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยให้ประชาชนผู้ใช้บริการเป็นผู้แสดงความคิดเห็นด้วยการตอบแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาตามแบบแผนการวิจัยเชิงปริมาณแบบเชิงสำรวจ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 25 – 35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นพนักงานเอกชน มีรายได้ต่อเดือนที่ 20,000-30,000 บาท และพบว่ามีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ หลักนิติธรรม อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ หลักความโปร่งใส อยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงหน่วยงานโดยเฉพาะด้านหลักความโปร่งใส ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ควรเปิดเผยประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร็เน็ต แผยแพร่ให้ประชาชนรับรู้ เป็นสำคัญ

References

กชกร เอื้อไพโรจน์ถาวร (2553). การนำหลักการบริหารจัดการที่ดี มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของเทศบาลในพื้นที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ไชยวัฒน์ ค้ำชู (2545). ธรรมาภิบาล: การบริหารการปกครองที่โปร่งใสด้วยจริยธรรม. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.

ถวิลวดี บุรีกุล (2550). วัดระดับการบริหารจัดการที่ดี. สถาบันพระปก กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

ประมวล รุจนเสรี. (2542). การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.

ธีรยุทธ บุญมี. (2543). แนวคิดและวาทกรรมว่าด้วยธรรมรัฐแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชยา ภักดีจิตต์. (2555). ธรรมาภิบาล: เพื่อการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรภัทร โตธนะเกษม. (2542). “การสร้าง Good Governance ในองค์กร”. เนชั่นสุดสัปดาห์. 4, 8 (15-21 สิงหาคม).

สังศิต พิริยะรังสรรค์ (2541). เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง แนวความคิดและยุทธศาสตร์. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ทรงสิทธิวรรณ.

สุธาวัลย์ เสถียรไทย. (2542). ชีววิทยาและเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่องสิทธิ (property rights): ความ สัมพันธ์เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน. วิกฤติสู่ประชาคม หนังสือที่ระลึกครบรอบ 60 ปีอาจารย์ อัมมาร สยามวาลา. กรุงเทพฯ: คณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2552). ภาวะผู้นากับธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Schermerhorn, John R., Hunt, James G., & Osborn, Richard N. (2000). Organizational behavior. Boston: McGraw-Hill.

Solomon, J., Scott, L., and Duveen, J. (1996). Large-Scale Exploration of Pupils’ Understanding of the Nature of Science. Science Education. 80(5), 493-508.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)