แนวทางการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เปรมฤดี ชิณวงษา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ศุรินภา ทุงจันทร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • บลณิชา พลประถม คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การบริการการศึกษา, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 265 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก จำนวน 1 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านผลการให้บริการ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ตามลำดับ 2) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงในการให้บริการ เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ควรให้บริการแบบ one stop service คิดเป็นร้อยละ34.78 ควรจัดทำแผ่นภูมิขั้นตอนในการให้บริการและรายเอียดที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอน คิดเป็นร้อยละ 30.43 ควรมีการกำหนดระยะเวลาการให้บริการแต่ละขั้นตอน ให้ชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 26.08 ควรบริการด้วยความสุภาพ อ่อนน้อม คิดเป็นร้อยละ 22.82 ควรมีความเสมอภาคกัน ไม่เลือกปฏิบัติในการให้บริการ คิดเป็นร้อยละ 21.73 ควรมีความต่อเนื่องในการประสานงานระหว่างหน่วยงานเพื่อลดความล่าช้า คิดเป็นร้อยละ 19.56 ควรมีตัวอย่างแบบฟอร์มการกรอกเอกสารเพื่อความสะดวกมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 16.30 เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการควรมีความกระตือรืนร้นเต็มใจให้บริการ คิดเป็นร้อยละ 13.00 และควรมีตู้สำหรับแสดงความคิดเห็นในการให้บริการ คิดเป็นร้อยละ 10.86 ควรมีระบบการแจ้งสถานะ ขั้นตอนในการให้บริการ คิดเป็นร้อยละ 10.86 ตามลำดับ

References

กิตติวงค์ สาสวด. (2554). การพัฒนาคุณภาพการบริการการศึกษาและประสิทธิผลการจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

คู่มือนักศึกษาประจำปี พ.ศ.2564. (2564). สารจากอธิการบดี. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่1). อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

นภดล เลือดนักรบ, สุภาณี เส็งศรีและ พิศิษฐ์ พลธนะ. (2560). ICT: เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการ เรียนรู้. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 9(1).

นันทวุฒิ ธุระพระ. (2554). ความพึงพอใจต่อการให้บริการงานพัสดุ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

บุญชม ศรีสะอาด.(2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

_______. (2546). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.

ไพรพนา ศรีเสน. (2544). ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการในงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ พัฒนาบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑติพัฒนบริหารศาสตร์.

มานิตย์ สารคำ. (2561). ประสิทธิภาพการทำงานธุรการ กองบริการการศึกษาต่อหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: กองบริการการศึกษา.

รัตนา เนื่องแก้ว. (2557). การพัฒนาระบบธุรการสถานวิทยาศาสตร์คลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์เวชสาร, 14(2).

สุภาพร หาชัยภูมิ (2562). ประสิทธิภาพของการปฏิบัติหน้าที่และการให้บริการงานธุรการ สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Albrecht, K. (2000). Service quality by design: Principles and practices for positive customer experiences. Upper Saddle River,

Bertalanffy, L. von. (1968). General systems theory: Foundations, development, applications. New York: George Braziller.

Churchill, G. A. (1979). A paradigm for developing and evaluating measures of consumer satisfaction. Journal of Marketing Research, 16(1), 64-71.

Dessler, G. H. (2015). Human resource management. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring service quality. Journal of Retailing, 64(1), 9-14.

Reichheld, F. F. (2001). The loyalty effect: The new science of customer loyalty. New York: Harvard Business School Press.

Zeithaml, V. A., Berry, L. L., & Parasuraman, A. (2000). Delivering quality service: Balancing customer expectations and operational realities. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02

How to Cite

ชิณวงษา เ. ., ทุงจันทร์ ศ., & พลประถม บ. . (2024). แนวทางการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 2(2), 541–552. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/814