การกำหนดนโยบายการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างเหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ภคอร จตุพรธนภัทร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การกำหนดนโยบาย, การจัดสวัสดิการสังคม, การพึ่งพาตนเอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society) เนื่องจากอัตราการเกิดของคนไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องโดยมีจำนวนการเกิดเพียงประมาณ 6 แสนคนต่อปี และขยับขึ้นเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Hyper Aged Society) ซึ่งมีสัดส่วนประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีถึงร้อยละ 20 หรือมีประชากรอายุมากกว่า 60 ปีกว่าร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2584 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว ส่งผลให้มีภาวะพึ่งพิงผู้อื่น ภาครัฐจึงควร วางแผนในการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม ซึ่งแนวทางรับมือที่ดีที่สุดคือ การกำหนดนโยบายส่งเสริม ให้ผู้สูงอายุมีการพึ่งพาตนเองอย่างเหมาะสม จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและรักษาพยาบาล  ในระยะยาว สนับสนุนเศรษฐกิจทำให้ผู้สูงวัยได้มีส่วนร่วมและมีคุณค่าทางสังคม ลดภาระพึ่งพิงสวัสดิการจากภาครัฐ พร้อมทั้งส่งเสริมให้คนทุกช่วงวัยได้อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจในสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปการพัฒนานโยบายสวัสดิการ สังคมเพื่อส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมกันสร้างสังคมไทยที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

References

กรมการแพทย์. (2549). โครงการวิจัยเรื่อง การสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 4 ภาคของไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ.

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สำนักงาน สภาสถาบันราชภัฏ. (2545). วัฒนธรรมไทยสู้ภัยเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา. (2560). การออกแบบอาคารเพื่อผู้สูงอายุ. วารสารสถาปัตยกรรม, 43(2), 54-61.

กาญจนา แก้วเทพ และกนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2530). การพึ่งตนเองศักยภาพในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาสน์พิมพ์.

ฐิติรัตน์ จันทร์สว่าง. (2562). การพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 37(2), 153-174.

ไทยพีบีเอส. (2567). Aging Society ไทยเข้าสู่สังคม “แก่เต็มขั้น” สวนทางเด็กเกิดน้อย. สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/335743.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

วิไลพร ขาวงษ์ และคณะ. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, 22(2), 115-124.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดผู้สูงวัย โอกาสทอง SME ไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2543). ทฤษฎีสังคมวิทยา: เนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข. (2567). โครงการเชิดชูเกียรติบุคคลและองค์กรต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพ ประจำปี 2567. สืบค้นจาก https://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=6568.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด โรงพยาบาลสวนปรุง. เชียงใหม่: จังหวัดเชียงใหม่.

Collin, C. and Kisner, C. (1988). Self-care: A nursing perspective. Reston, VA: Reston Publishing Company.

Mathuranath, P.S. (2005). The Greying of India. Population Ageing in the Context of Asia. New Delhi: Sage Publications.

The WHOQOL Group. (1995). The World Health Organization Quality of Life Assessment (WHOQOL): Position Paper from the World Health Organization. Social Science and Medicine, 41(10), 1403-1409.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02

How to Cite

จตุพรธนภัทร ภ. . (2024). การกำหนดนโยบายการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างเหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 2(2), 375–386. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/703