ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน: นวัตกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐวิชฌ์ ราชแก้ว หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน, หุ้นส่วน, อาชญากรรม

บทคัดย่อ

การทำงานของตำรวจในยุคที่สังคมมีความเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือรูปแบบในการทำงาน จากอดีตหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและการจับผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นหน้าที่ของตำรวจเพียงฝ่ายเดียวและตำรวจใช้วิธีการบังคับใช้กฎหมายเป็นหลักแต่วิธีการดังกล่าวไม่สามารถ ลดอาชญากรรมในสังคมได้ ต่อมาเมื่อนำแนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) มาใช้ในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการบูรณาการร่วมกับประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ดังที่เซอร์โรเบิร์ต พีล กล่าวว่า “ตำรวจคือประชาชนและประชาชนคือตำรวจ” และด้วยสภาวะสังคมสมัยใหม่ที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้สังคมโลกแห่งความจริงกลายเป็นสังคมดิจิทัล เกิดเป็นยุคแห่ง Digital Transformation ที่มนุษย์ได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งโครงการ RTP Cyber Village เป็นนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ให้สถานีตำรวจทุกแห่งดำเนินการโดยใช้แพลทฟอร์มออนไลน์เข้ามาช่วยในการทำงาน หลักการของแนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) และ โครงการ RTP Cyber Village จึงถือเป็นนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการและวิธีปฏิบัติงานการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม โดยตำรวจจะต้องสร้างความไว้วางใจ สร้างประสบการณ์  สร้างการรับรู้ สร้างความเชื่อ และสร้างการทำงานที่โปร่งใส ยุติธรรม ให้ประชาชนเห็นและเชื่อใจ จึงจะสามารถสร้างความร่วมมือกับประชาชนในฐานะ “หุ้นส่วน” (Partnership) ระหว่างตำรวจกับประชาชนได้อย่างยั่งยืน 

References

กองแผนงานอาชญากรรม. (2566). โครงการ SMART SAFETY ZONE 4.0. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

กองแผนงานอาชญากรรม. (2563). ผลการปฏิบัติตามแผนป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

จตุพร บานชื่น. (2546). ปัญหาสังคม: อาชญากรรม. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จีรวัฏฐ์ บุญวัฒนาภรณ์. (2556). ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชรินทร์ทิพย์ ปั้นสุวรรณ. (2565). แนวทางการกำกับดูแลการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรในยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี. (2555). การนำกลยุทธ์แบบ Community Policing มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันอาชญากรรมในเขตเมือง: กรณีศึกษา ชุมชนในเขตลาดพร้าว บางนา และบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารกระบวนการยุทติธรรม. (5), 49-71

ชำนิ คนไว (พันตำรวจโท). (2560). ปัญหาอาชญากรรมในสังคม. วารสารแสงอิสาน, 14(2), 28-41.

ณรงค์ ทรัพย์เย็น และธงชาติ รอดคลองตัน. (2551). คู่มือตำรวจ เล่มที่ 6 หมวดวิชาป้องกันปราบปรามอาชญากรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ.

ดิเรกฤทธิ์ บุษยธนากรณ์. (2563). แบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรม ลูกผสมในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดิเรกฤทธิ์ บุษยธนากรณ์. วิชาการตำรวจ. (2560). ตำรวจไทย 4.0. ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก http://preeda44.blogspot.com/2017/01/4.html สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2566.

ดิเรกฤทธิ์ บุษยธนากรณ์. (2561). ทฤษฎีตำรวจสัมพันธ์. ออนไลน์. เข้าถึงได้จากhttps://www.scribd.com/document/371232880 สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566.

ภาคิน ดำภูผา. (2561). การประเมินการนำนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมไปสู่การปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วสัน คงนิล (พันตำรวจโท). 2558. อาสาสมัครตำรวจชุมชนมีส่วนร่วมแก้ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในเขตพื้นที่ของสถานีตำรวจภูธรธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) สาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไวพจน์ กุลาชัย และคณะ. (2562). ต้นเหตุแห่งความไว้วางใจตำรวจและผลกระทบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและการให้ความร่วมมือกับตำรวจ. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง. (2565). สถิติฐานความผิดคดีอาญา (คดี 4 กลุ่ม) หน่วยงานทั่วประเทศ. กองแผนงานอาชญากรรม. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

สุรพล ธนโกเศศ. (2556). สู้! อาชญากรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรุงเทพ.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2565). พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565. (2565, 16 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนที่ 64 ก. สืบค้นจาก https://www.royalthaipolice.go.th/downloads/T_0001.pdf สืบค้น 17 มิถุนายน 2566

(2566). แนวคิดและหลักการ COPPS “ตำรวจกองปราบปรามผู้รับใช้ชุมชน (COP)”. สืบค้นจาก

https://chomtong.chiangmai.police.go.th/forum/index.php?topic=19.0 สืบค้น 8 กรกฎาคม 2566.

Clarke, Ronald V. & Eck, John E. (2003). Becoming a Problem-Solving Crime Analyst: In 55 Small Steps. London: jill Dando Institute of Crime Science.

Dario, Ortega, Anderez., Eiman, Kanjo., Amna, Amnwar., Shane, D., Johnson., David, Lucy. (2021). The Rise of Technology in Crime Prevention: Opportunities, Challenges and Practitioners Perspectives. arXiv: Computers and Society,

Gim, Su, Yeong. (2020). Crime prevention system.

Jacob, Torfing., Andreas, Hagedorn, Krogh., Anders, Ejrnæs. (2020). Measuring and assessing the effects of collaborative innovation in crime prevention. Policy and Politics, 48(3):397-423. doi: 10.1332/030557320X15788414270675

Norwahida, Zainal, Abidin., Novel, Lyndon., Mohd, Helmi, Abdul, Rahim. (2018). IMPAK PROJEK INOVASI PENCEGAHAN JENAYAH KAWASAN PERUMAHAN: ANALISA DARIPADA PANDANGAN KOMUNITI LOKAL (The Impact of Crime Prevention Project Innovation of Housing Area: Analysis of the Views of Local Communities). 13(5)

Robert, Stokes., Charlotte, Gill. (2020). In Support of Innovative Partnerships for Crime Prevention: The Byrne Criminal Justice Innovation Program. 1-22. doi: 10.1007/978-3-030-43635-3_1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

How to Cite

ราชแก้ว ณ. . (2023). ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน: นวัตกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมอย่างยั่งยืน. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online), 1(2), 168–184. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/296