แนวทางการบริหารแบรนด์ของธุรกิจผ่านมุมมองผู้ประกอบการยุคใหม่ในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหารแบรนด์, การสร้างแบรนด์, ผู้ประกอบการยุคใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารแบรนด์ของธุรกิจผ่านมุมมองผู้ประกอบการยุคใหม่ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแนวทางศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (ดีพร้อม คพอ.) รุ่นที่ 414 จังหวัดเพชรบูรณ์ และการค้นคว้าหลักฐานจากเอกสารต่าง ๆ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการยุคใหม่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ส่วนใหญ่เป็นรุ่นทายาทธุรกิจ ซึ่งความท้าทายของการสืบทอดกิจการจากรุ่นพ่อแม่ คือ การบริหารแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จท่ามกลางพลวัตรแห่งการเปลี่ยนแปลงควบคู่กับความพยายามปลดล็อคข้อจำกัดที่มาจากปัจจัยภายในและภายนอก โดยไม่ลืมแสวงหาโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยุคใหม่ได้เสนอแนวทางการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก จดจำ และมีชื่อเสียง ประกอบด้วย การขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย การปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้ทันสมัย การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตและการบริการ การนำธุรกิจเข้าสู่โลกออนไลน์เพื่อขยายฐานลูกค้า การสวมบทบาทนักบริหารจัดการที่ดินเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ประกอบการยุคใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารแบรนด์อย่างมาก โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านพนักงานขายประจำร้าน เฟซบุ๊กเพจของธุรกิจ และแพลตฟอร์มติ๊กต็อก เนื่องจากมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคยุคดิจิทัล

References

กระทรวงอุตสาหกรรม, ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2. (2568, เมษายน 19). รายละเอียดโครงการอบรม คพอ.รุ่นที่ 414. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 กระทรวงอุตสาหกรรม.

กัญญ์ณณัฐ อนุรักติพันธุ์. (2565). หน่วยที่ 3 การวิเคราะห์ผู้บริโภค. ใน หลักการสื่อสารการตลาด = Principle of marketing communication: เอกสารการสอนชุดวิชา (เล่ม 1, หน่วยที่ 1–5, หน้า 3–1–3–79). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จิรโรจน์ วิรุฬหสกุล. (18 กุมภาพันธ์ 2568). ผู้ประกอบการโครงการอบรม คพอ.รุ่นที่ 414. สัมภาษณ์.

ฉมาดนัย มากนวล. (2567). ส่งไม้ต่อสู่ทายาทธุรกิจ: นัยยะทางเศรษฐกิจ และเคล็ดลับสู่ความสำเร็จ. SME Focus. 1-6. https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_3078In_he_News_01_08_67.pdf

ฐานเศรษฐกิจ. (2566, พฤษภาคม 20). การสร้างแบรนด์ สำหรับธุรกิจครอบครัว มีความสำคัญอย่างไร. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.thansettakij.com/business/marketing/565807.

ณิชกมล กิตติธรสมบัติ. (18 กุมภาพันธ์ 2568). ผู้ประกอบการโครงการอบรม คพอ.รุ่นที่ 414. สัมภาษณ์.

ธนาคารไทยพาณิชย์. (ม.ป.ป.). เมื่อธุรกิจเล็กคิดสร้างแบรนด์ใหญ่: Powerful big brand strategies for small business growth. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/powerful-big-brand-strategies-for-small-business.html.

นวภัส สุคนธ์ขจร. (18 กุมภาพันธ์ 2568). ผู้ประกอบการโครงการอบรม คพอ.รุ่นที่ 414. สัมภาษณ์.

นิษฐา หรุ่นเกษม. (2565). หน่วยที่ 1 ผู้บริโภคและการสื่อสารในยุคดิจิทัล. ใน หลักการประชาสัมพันธ์และโฆษณา = Principles of public relations and advertising: เอกสารการสอนชุดวิชา (เล่ม 1, หน่วยที่ 1–5, หน้า 1–1–1–45). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์. (2565). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากผลกระทบวิกฤต COVID-19 ผ่านมุมมองผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. https://scholar.utcc.ac.th/entities/publication/85501764-fdaa-4e9b-95c2-d63a4f67151b.

พงศ์ศิริ คำขันแก้ว. (2563). การบริหารแบรนด์องค์การ: หนทางสู่ความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(2), 218–238. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/136081.

ลักษิกา หล่อตระกูล. (18 กุมภาพันธ์ 2568). ผู้ประกอบการโครงการอบรม คพอ.รุ่นที่ 414. สัมภาษณ์.

สราวุธ อนันตชาติ. (2565). ตราสินค้ากับการสื่อสารในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง: แนวคิดและการวิจัย. โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2567). รายงานสถานการณ์ MSME ปี 2567. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.sme.go.th/knowledge/รายงานสถานการณ์MSMEรายปี%28MSMEWhitePaper%29ประจำปี2567.

เหมือนจิต จิตสุนทรชัยกุล. (2564). การบริหารแบรนด์. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2567 จากhttps://libdoc.dpu.ac.th/FreeEbook/116120.pdf.

อาทิตยา อินต๊ะ. (19 กุมภาพันธ์ 2568). ผู้ประกอบการโครงการอบรม คพอ.รุ่นที่ 414. สัมภาษณ์.

Juska, J. M. (2022). Integrated marketing communication: Advertising and promotion in a digital world (2nd ed.). Routledge, Taylor & Francis Group.

Kamkankaew, P. (2017). Strategic brand management for small enterprise: A case study on small restaurant in Lampang, Thailand. International Journal of Social Science and Economic Research, 2(4), 3017-3023.

Keller, K. L., & Swaminathan, V. (2020). Strategic brand management: Building, measuring, and managing brand equity (5th ed.). Pearson.

Singh, J., & Shukla, P. (2024). Brand management: Principles and applications for effective branding. Kogan Page.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

ลาภะวัฒนาพันธ์ บ. (2025). แนวทางการบริหารแบรนด์ของธุรกิจผ่านมุมมองผู้ประกอบการยุคใหม่ในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 607–623. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1864