บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมครูใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • กัญญาภัทร ทัศวงษ์ หลักสูตรศึกศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • จารุวรรณ แก่นทรัพย์ หลักสูตรศึกศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้บริหาร, การส่งเสริมครู, เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมครูใช้เทคโนโลยี เพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 132 คน ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองตาก ปีการศึกษา 2567 รวมทั้งสิ้น 136 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับการสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมครูใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอนของครู ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนามีดังนี้ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย แผนงานและโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของครูและผู้เรียน จะช่วยให้การพัฒนาและการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีมีทิศทางที่ชัดเจนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้บริหารควรมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน โดยวางแผนและกำหนดกรอบเวลาสำหรับการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานมีทิศทาง และเป้าหมายที่ชัดเจน และควรจัดให้มีการอบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาทักษะ และศักยภาพของครูในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

References

จิติมา วรรณศรี. (2564). การบริหารจัดการศึกษายุคดิจิทัล. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.

จุรีพร นิลแก้ว และสมใจ สืบเสาะ. (2566). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 83–98.

ชลันธร ปานอ่ำ. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

ฐาวรดา วิเชียรฉาย และวิรัตน์ มณีพฤกษ์. (2566). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครู ด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 18(2), 99-113.

ธีระ รุญเจริญ. (2562). ทิศทางการจัดการศึกษาเรียนรู่สู่การศึกษา 4.0 ในยุคดิจิทัล. ใน จิณณวัตร ปะโคทัง (บรรณาธิการ), รวมบทความการบริหารการศึกษากับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษาในยุคดิจิทัล ชุดที่ 1 หน้า 8-9. อุบลราชธานี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วิทยาการพิมพ์ 1973.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญจพร สุคนธร. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก.

ฝ้าตีม๊ะ จงกลบาน. (2562). การปฏิบัติงานตามบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ศิราวุธ บุญชู. (2565). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ลัดดาวัลย์ พัวพันวัฒนะ. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานเทศบาลเมืองตาก. (2567). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 – 2570) ของเทศบาลเมืองตาก แก้ไขครั้งที่ 5/2567. งานนโยบายและแผน ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองตาก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สัมมา รธนิธย์. (2560). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

สุธน ศรีศักดิ์บางเตย. (2562). แนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 455-468.

อภิวิชญ์ สนลอย, อรพรรณ ตู้จินดา และดวงใจ ชนะสิทธิ. (2565). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1), 89–101.

อัมพร พินะสา. (2563). สพฐ.วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

DQ Institute. (2020). DQ (Digital Intelligence). สืบค้น 17 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.dqinstitute.org/global-standards/.

Haimann, T., Scott, W. G., & Connor, P. E. (1974). Management in the modern organization (2nd ed.). Boston, MA: Houghton Mifflin.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational administration: Theory, research and practice (6th ed.). Boston: McGraw–Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-04

How to Cite

ทัศวงษ์ ก., & แก่นทรัพย์ จ. (2025). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมครูใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 802–815. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1855