ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • เจษฎากร ธุรารัตน์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหาร, โรงเรียนอนุบาลสกลนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลสกลนคร ประชากรผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน และครูผู้สอนในโรงเรียนอนุบาลสกลนคร จำนวน 73 คน ในปีการศึกษา 2567 รวมทั้งสิ้น 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ค่าความตรงของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านภาวะผู้นำทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านภาวะผู้นำการบริการจัดการโรงเรียน ด้านภาวะผู้นำทางจริยธรรม และด้านภาวะผู้นำทางการสื่อสาร 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลสกลนคร มีดังนี้ 2.1) ด้านภาวะผู้นำทางการสื่อสาร ผู้บริหารควรมีกระบวนการในการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น ความรู้สึกโดยผ่านกระบวนการพูด การเขียน การใช้สัญลักษณ์ การแสดงออก มีทัศนคติของตนเองอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมและสถานการณ์ต่าง ๆ 2.2) ด้านภาวะผู้นำทางจริยธรรม ผู้บริหารต้องสร้างบรรยากาศ สนับสนุนความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยความเข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้การสื่อสารเป็นพื้นฐานเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน มีข้อตกลงเพื่อสร้างกฎระเบียบของสถานศึกษาเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ได้แก่ การเข้าใจตนเอง การเข้าใจผู้อื่น 2.3) ด้านภาวะผู้นำการบริการจัดการโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษามีหน้าที่สำคัญในการกำหนดนโยบาย วางแผน ตัดสินใจ สั่งการ รวมทั้งการประสานงานต่าง ๆ และต้องปรับปรุงกลยุทธ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและมีสมรรถภาพทางวิชาการสูง 2.4) ด้านภาวะผู้นำทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารควรมีรูปแบบการบริหารจัดการทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม มีการจัดการฐานข้อมูลให้เกิดความครอบคลุมในภาระงานและวางแผนพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนงบประมาณทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล

References

กมลชนก ศรีสุดา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จักรพันธ์ ไชยยิ่งกฤษศิริ. (2553). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ณัฏฐิตา สงค์แก้ว. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นพพล ศุภวิทยาเจริญกุล. (2560). ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นราธิป โชคชยสุนทร. (2562). ภาวะผู้นําของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นฤมล คูหาแก้ว. (2563). ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

แพรลฎา พจนารถ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กรในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 241–257.

โรงเรียนอนุบาลสกลนคร. (2567). บุคลากร. สืบค้น 11 เมษายน 2567 จาก https://abs.ac.th/abs/index.php/personnel-menu/personnel-submenu.

สุชญา โกมลวานิช, สิทธิชัย สอนสุภี, บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์ และเกื้อจิตต์ ฉิมทิม. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21, 27 มีนาคม 2563 หน้า HM016-HM016-8. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. https://app.gs.kku.ac.th/images/img/support/grc2020/pdfabstracts/HMO16.pdf.

สุธิกานต์ บริเอก. (2564). ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุนันธิณีย์ ม่วงเนียม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อรพรรณ เทียนคันฉัตร. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อุมาพร ธรรมสมบัติ. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ฮิวจ์ เดลานี. (2562). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจสำคัญของการศึกษา. สืบค้น 11 เมษายน 2567 จาก htts://www.unicef.org/thailand/th/stories/การศึกษาสำหรับศตวรรษที่-21.

Abe, T., & Chowdhery, S. (2011). World-class leadership: Leading yourself, your team, the world and the society. Singapore: World Scientific Publishing.

Ontario Principals’ Council. (2014). Preparing principals and developing school leadership associations for the 21st century: Lessons from around the world. https://internationalschoolleadership.com/wp-content/uploads/2014/12/International-Symposium-White-Paper-OPC-2014.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-02

How to Cite

ธุรารัตน์ เ. ., & อุสาโห ก. (2025). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลสกลนคร. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 759–771. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1611