ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารงานวิชาการ, อาชีวศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2. ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการ และ 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูจำนวน 210 คน ได้มาจากตารางเครซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และการบริหารงานวิชาการที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับสมรรถนะขอผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการมีคุณธรรมและจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับมาก 2. ระดับการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านงานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านแผนกวิชา อยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (rxy = 0.61) ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าความสัมพันธ์ทางบวกมากที่สุด คือ ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ (rxy = 0.59) รองลงมา คือ ด้านการทำงานเป็นทีม (rxy = 0.51) และด้านที่มีค่าความสัมพันธ์ต่ำที่สุด คือ ด้านการพัฒนาตนเอง (rxy = 0.34) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กัญญานิษฐ์ ขุนประดิษฐ์. (2562). การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัการศึกษาในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
จตุรภุช เวียงสมุทร และพรทิวา ชนะโยธา. (2566). สมรรถนะการบริหารงานของผู้อำนวยการสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 3(3), 158-169.
จิรายุ ศีติสาร. (2566). การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
ธวัชชัย แสนดวง. (2565). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
พรวลี ตรีประภากร. (2564). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
พิริยา บุญเย็น และณิรดา เวชญาลักษณ์. (2564). การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพิษณุโลก.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 385-399.
รชต กฤตธรรมวรรณ, ประกฤติ พูลพัฒน์ และธีรเดช ชื่นประภานุสรณ์. (2565). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 721-734.
ราตรี วงศ์รัตนาจันทร์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลัดดา วงค์กระจ่าง. (2567). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุความปรกติถัดไปที่ส่งผลต่อคุณภาพวิชาชีพของวิทยาลัยสารพัดช่าง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วรรณภา อภิรมยานนท์ และปัญญารัฐฎน์ จันทร์กอง. (2566). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 10(2), 32-41.
ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2566) ระบบประกาศผลและรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา. สืบค้น 1 มีนาคม 2567 จาก https://allnetresult.niets.or.th/VNET/AnnouncementWeb/login.aspx?ReturnUrl=%2fVNET%2fAnnouncementWeb%2fMainSch%2fMainSch.aspx.
สถิตย์ เทศาราช, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, อมรทิพย์ เจริญผล, มัธยม เรืองแสน และปาริชาติ สุภิมารส. (2563). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนางานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในทตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE)” 29 พฤษภาคม 2563 หน้า 277-287. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
สายทิตย์ ยะฟู. (2560). การวิจัยการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2567 จาก https://online.anyflip.com/ikfhy/avdh/mobile/.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารอาชีวศึกษาจังหวัดและอาชีวศึกษาภาค. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา. (ฉบับที่ 2). สืบค้น 10 พฤษภาคม 2567 จากhttps://vec.go.th/Default.aspx?TabId=6276&ArticleId=40477&language=th-TH.
อัมรินทร์ จันทาอ่อน. (2557). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. Free Press.
Conley, D. T. (1993). Who Governs Our Schools?: Decentralization and School Restructuring. Jossey-Bass.
Fayol, H. (1949). General and industrial management. (Storrs, C. Trans.). Pitman.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2010). Educational administration: Theory, research, and practice. (8th ed.). McGraw-Hill.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Taylor, F. W. (1911). The principles of scientific management. Harper & Brothers.