ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10

ผู้แต่ง

  • ศษพร แก้วลา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สามารถ อัยกร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล, ปัจจัยการบริหารองค์การ, ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 10 จำนวน 218 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.379-0.815 และค่าความเชื่อมั่น 0.869 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานสรรพากรภาค 10 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยการบริหารองค์การของสำนักงานสรรพากรภาค 10 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ด้านหลักนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักคุณธรรม และหลักความโปร่งใส  มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนหลักการมีส่วนร่วม มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นหลักความคุ้มค่า โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 ได้ร้อยละ 84.60 ปัจจัยทางการบริหารองค์การ ด้านงบประมาณ ด้านวิธีการทำงาน และด้านวัสดุอุปกรณ์ มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านบุคลากร มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 ได้ร้อยละ 92.50

References

กรมสรรพากร. (2567). รายงานประจำปี. กรุงเทพฯ: กรมสรรพากร.

จิราภรณ์ รังคสิริ และและสวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2562). องค์ประกอบหลักการจัดเก็บภาษีที่ดีของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 265-273.

ชาญธิวัฒน์ กิจสวัสดิ์. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน กรณีศึกษาเทศบาลเมืองไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทองสุข ทองสา. (2558). ความคิดเห็นของข้าราชการสรรพากรต่อการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษา สำนักงานสรรพากรพื้นที่สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครองมหาวิทยาบูรพา.

นูรีซา มาหิเละ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนราธิวาส. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ประพาพร พืชผักหวาน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลสามสวน อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัทธ์ธีรา ชุ่มใจ. (2562). ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากรของกรมสรรพากร ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานสรรพากรภาค 2. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภูดิศ นอขุนทด. (2565). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รุ้งไพลิน บุญหล้า. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วาสนา เมธาวรากุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องถิ่นของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2553) การบริหารจัดการของหน่วยงานของรัฐ: การวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวชี้วัด. กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ.

ศรัณย์ ฐิตารีย์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ศิริพร สีสว่าง และสิทธิเดช สิริสุขะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 633-649.

สรชัย พิศาลบุตร. (2555). การวิจัยทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพรส.

สำนักงานสรรพากรภาค 10. (2567). รายงานประจำปี 2567. อุดรธานี: สำนักงานสรรพากรภาค 10.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อรพรรณ นองสุข. (2566). ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากรของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 12. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Smith, A. (1776). The Wealth of Nations. London: W. Strahan and T. Cadell.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-03

How to Cite

แก้วลา ศ., อัยกร ส., & อุดมกิจมงคล ช. (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(1), 176–190. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1523