การดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษากลุ่มศรีธาตุ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2

ผู้แต่ง

  • อภิเชษฐ์ ป้านภูมิ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สุรศักดิ์ หลาบมาลา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • อมรทิพย์ เจริญผล หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การดำเนินงาน, นิเทศภายใน, แนวทางพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษากลุ่มศรีธาตุ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ google form วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษาค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ รองลงมา คือ การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการนิเทศ และการวางแผนการนิเทศ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การปฏิบัติการนิเทศ แนวทางพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษา ด้านปฏิบัติการนิเทศ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรเน้นการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ผู้บริหารควรเตรียมเครื่องมือนิเทศโดยพัฒนาแบบสังเกตการสอน แบบประเมิน และแบบบันทึกต่าง ๆ ผู้บริหารควรส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และเน้นการทำงานเป็นรูปแบบ PDCA ผู้บริหารควรสร้างบรรยากาศการนิเทศที่เป็นมิตร ไม่กดดัน ผู้บริหารควรวางแผนการนิเทศอย่างเป็นระบบตลอดปีการศึกษา และผู้บริหารควรนำระบบออนไลน์มาใช้ในการนิเทศและติดตามผล

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปฏิพัทธ์ น้อมสูงเนิน. (2563). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอบุณฑริก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี.

ยมนพร เอกปัชชา. (2557). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลังเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัราชภัฏนครสวรรค์.

วิศรุตา คูณแสน และธีระเดช จิราธนทัต. (2568). แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วารสารมณีเชษฐารามวัดจอมมณี, 8(1), 141-159.

โสภณ ลำเภา, มิตภาณี พุ่มกล่อม และพงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2565). แนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(40), 225-234.

อัจฉริยา ฤทธิรณ. (2563). สภาพและแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อุทัยรัตน์ แสงพระจันทร์ และอดุลย์ วังศรีคูณ. (2559). การศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกลุ่ม 5 ขุนศึก. วารสารครุพิบูล, 3(1), 49-61.

Best, J. W. & Kahn, J. V. (1998). Research in Education (8th ed.). Chicago: Butler University, Emeritus, University of Illinois.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2018). SuperVision and instructional leadership: A developmental approach (10th ed.). Pearson.

Sergiovanni, T. J., & Starratt, R. J. (2014). Supervision: A redefinition (9th ed.). McGraw-Hill.

Wallace, M. J. D., Wilcoxon, S. A., & Satcher, J. (2010). Productive and Nonproductive Counseior Supervision: Best and Worst Experiences of Supervisees. Alabama Counseling Association Journal, 35(2), 4-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-01

How to Cite

ป้านภูมิ อ., หลาบมาลา ส., & เจริญผล อ. (2025). การดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษากลุ่มศรีธาตุ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 3(2), 419–430. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1480