ความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระทัศพงษ์ ฐานวุโธ (ลัดดากูล)

บทคัดย่อ

“กรรม” คือการกระทำทางกาย ทางวาจาและทางใจ ทั้งที่เป็นความดีและความชั่ว เมื่อได้กระทำลงไปแล้ว รวมทั้งประกอบด้วยเจตนา เรียกว่า “กรรม” และกรรมย่อมส่งผลให้ผู้กระทำกได้รับผลนั้น ๆ ด้วย ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว ผลของกรรมนั้นไม่ใช่ว่าจะได้รับผลในทันที กรรมบางอย่างอาจให้ผลช้า กรรมบางอย่างอาจให้ผลเร็ว กรรมแต่ละประเภท แต่ละหมวดหมู่นั้น ล้วนให้ผลทั้งสิ้น


ความเชื่อ ความศรัทธาในชีวิตมนุษย์มีผลต่อกรรมเป็นอย่างมาก หากมนุษย์มีความเห็นถูกต้อง เชื่อในเรื่องที่ควรเชื่อ ย่อมทำให้มนุษย์ประกอบแต่กรรมดี เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์มีความเห็นผิด เชื่อ งมงาย ในสิ่งที่ผิด มนุษย์จะประกอบกรรมชั่วขึ้นมาทันที เพราะความเห็นผิดนั้น จัดได้ว่าเป็นกรรมชั่วทางใจ การมีความเห็นผิด เข้าใจผิด ย่อมนำพาให้มนุษย์มีการกระทำทางกาย ทางวาจา ไปในทางที่ผิดด้วย ความเข้าใจเรื่อง กรรม ในพระพุทธศาสนา สามารถทำให้มนุษย์มีความเห็นที่ถูกต้อง เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ดังนั้นมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายย่อมหนีกรรมและผลของกรรมไปไม่พ้น

Article Details

How to Cite
ฐานวุโธ (ลัดดากูล) พ. (2024). ความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา. วารสาร ปัญญาลิขิต, 3(1), 21–29. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/880
บท
บทความวิชาการ

References

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2553). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ คำวัด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2538). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). ( 2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 36.กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2546). หลักการและการเวียนว่ายตายเกิด. กรุงเทพฯ: เรือนธรรม.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2556). พุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพฯ: สามลดา.