การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าตามแนวพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคซึมเศร้า เป็นอาการผิดปกติของอารมณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม โรคซึมเศร้าเป็นภาวะอารมณ์เศร้าหมองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความรู้สึกเฉยชา ไม่สนใจสิ่งต่าง ๆ ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานในแต่ละวัน ซึ่งก่อให้เกิดอาการทางจิตได้มากมาย
การดำเนินชีวิตตามปกติอาจทำได้อย่างยากลำบากหรือรู้สึกว่าชีวิตไม่มีค่า สาเหตุที่แท้จริงของโรคซึมเศร้านั้นยังไม่ทราบแน่ชัด เพราะอาการนั้นสัมพันธ์กับความผิดปกติทางจิต ปัจจัยหลาย ๆ ด้านจึงอาจส่งผลกระทบได้ ต้องระวังเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เพราะมีโอกาสคิดสั้นฆ่าตัวตายสูง หากมีเรื่องกระทบกระเทือนใจแม้เพียงนิดเดียว โดยจากสถิติพบว่า มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตาย มีภาวะของโรคซึมเศร้าด้วย สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า การรักษาหลักคือการใช้ยาในกลุ่มแก้ซึมเศร้าหากมีความจำเป็น การปรับมุมมองเปลี่ยนความคิด การปรึกษาจิตแพทย์ โดยวิธีการรักษาควรได้รับการประเมินโดยแพทย์เท่านั้น ส่วนการรักษาตามแนวพุทธ เป็นการทำจิตบำบัด เน้นถึงการเจริญสติรู้เท่าทันอารมณ์ภายในและภายนอก ซึ่งเป็นทางเลือกที่สามารถรักษาอาการซึมเศร้าและช่วยป้องกันความเครียดสะสมอย่างได้ผล จนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติและยิ่งมารับการรักษาเร็วเท่าไรอาการก็จะดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมสุขภาพจิต. (2559). สติวิถีแห่งสุขภาพดี (Mindfulness For Healthy Lives). การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 15 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ครั้งที่ 13 ประจำปี 2559, กระทรวงสาธารณสุข, หน้า 1.
ณรงค์ สุภัทรพันธุ์, (2543). โรคอารมณ์ซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.
ดวงใจ กสานติกุล. (2552). โรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์ผิดปกติรักษหายได้. กรุงเทพฯ: นำอักษร.
นันทิรา หงส์ศรีสุวรรณ์. (2559). ภาวะซึมเศร้า. วารสาร มฉก.วิชาการ 105, 19(38), 107.
นิตยาพร บุญก้อน. (2562). บทความด้านสุขภาพจิต โรคซึมเศร้า เรากำลังเป็นหรือเปล่า. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29704
บริษัท รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย) จำกัด, (2544). บำบัดโรคด้วยการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.
พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล. (2562). การศึกษาวิเคราะห์พุทธจิตวิทยาในพระไตรปิฎก. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ “คำวัด”. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันบันลือธรรม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลักขณา สริวัฒณ์. (2544). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วินิตา รัตตบูรณินท์.(2542). อยู่ร้อยปีไม่มีแก่: ใช้ชีวิตอย่างไรจะไกลหมอ. พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. (2536). ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวดี ศรีวิเศษ. (2557). กลุ่มบําบัดโดยการแก้ปัญหาในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย.กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
Bangkok Hospitol. (2562). ประเภทโรคซึมเศร้า (DEPRESSION). สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2564, จากhttps://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/depression-type
Kabat-Zinn, J. (2003). Wherever you go, there you are: mindfulness meditation in everyday life. New York: Hyperion.
Selingman, M. (1991). Helplessness: On depression, development and death (second ed.). New York, USA: W.H. Freeman and Company.