การบริหารจัดการท้องถิ่นยุคใหม่ของจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

วิชาญ สุธรรมพงษ์
กานต์พิสุทธิ์ ยุกตานนท์
ธานี ชาวสวน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารจัดการท้องถิ่นยุคใหม่ของจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษากระบวนการของการบริหารจัดการท้องถิ่นยุคใหม่ของจังหวัดชลบุรี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการบริหารจัดการท้องถิ่นยุคใหม่ของจังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม


ผลการวิจัยพบว่า น้ำหนักเฉลี่ยด้านการบริหารทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.08 ค่า S.D. เท่ากับ 0.89 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านการวางแผนกลยุทธ์และด้านการดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกทั้งหมดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะเดียวกันด้านการจัดสรรใช้ทรัพยากรมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง


น้ำหนักเฉลี่ยด้านบุคลากร ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.14 ค่า S.D. เท่ากับ 0.89 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านความรู้ความสามารถและด้านไหวพริบการแก้ไขปัญหาเป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกทั้งหมดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะเดียวกันด้านการควบคุมมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก


ระดับการบริหารจัดการท้องถิ่นยุคใหม่มีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.18 ค่า S.D. เท่ากับ 0.88 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านการพัฒนาสังคมมีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อยแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ด้านความทันสมัยแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก และด้านความรับผิดชอบต่อส่วนรวมแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ส่วนด้านรูปแบบการปกครองมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

How to Cite
สุธรรมพงษ์ ว., ยุกตานนท์ ก., & ชาวสวน ธ. (2024). การบริหารจัดการท้องถิ่นยุคใหม่ของจังหวัดชลบุรี. วารสาร ปัญญาลิขิต, 2(3), 30–43. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/856
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

ณัฏฐ์ณัชชา ไชยประเสริฐ. (2565). บทบาทท้องถิ่นกับการบริหารจัดการเมืองแบบ Smart City. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(1), 71-84.

ธนาวุฒิ คำศรีสุข และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2565). ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 369-386.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ), 624-634.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ของเชื้อไวรัส COVID-19. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 10(2), 509-522.

พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา และคณะ. (2562). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหาร ส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,6(5), 2459-2480.

วัฒนา นนทชิต และคณะ. (2565). ศักยภาพในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเทศบาลนครยะลาตามแนวทาง “การบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี” บนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาล. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 78-90.

สุนทรชัย ชอบยศ. (2561). การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มโรงสีข้าวชุมชนตำบลหนองบัว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง,8(2), 16-32.

DOH กรมอานามัย. (2565). ประชากรทะเบียนราษฎร์ จำแนกรายเพศ ปีงบประมาณ 2565. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2565, จาก http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/?year=2022

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.