ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยระดับประถม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของสภาพปัญหาของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยระดับประถมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยระดับประถมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยระดับประถมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในภาคตะวันออกฉียงเหนือ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า น้ำหนักเฉลี่ยด้านสังคมทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.19 ค่า S.D. เท่ากับ 0.95 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านครอบครัวและด้านการสนับสนุนเป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะเดียวกันด้านวัฒนธรรมมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง
น้ำหนักเฉลี่ยด้านการเรียนรู้ ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.14 ค่า S.D. เท่ากับ 0.89 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านความตั้งใจและด้านทักษะเป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะเดียวกันด้านความเข้าใจมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก
ระดับการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ระดับประถมมีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.20 ค่า S.D. เท่ากับ 0.93 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านผู้สอนมีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านการพัฒนาแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ด้านการปรับตัวแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก และด้านประสิทธิภาพแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ส่วนด้านการแสดงออกมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
ชัยรัตน์ ตั๋นสกุล และคณะ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4 MAT) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 3(1), 27-35.
ณัทรัชตา ทะรีนทร์. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต่อหน่วยการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด. Journal of Modern Learning Development, 5(2), 26-39.
ธนัตถ์กานต์ ศรีเฉลียว และคณะ. (2560). การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 61-74.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ), 624-634.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ของเชื้อไวรัส COVID-19. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 10(2), 509-522.
ปิยะราช วรสวัสดิ์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง วิเคราะห์ประเด็นสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไพบูลย์ สุทธิ. (2565). การวิเคราะห์ปัจจัยด้านภูมิหลังของครอบครัวและผู้อบรมเลี้ยงดูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 453-467.
ศุภณัฐ พานา. (2563). แนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 23(2), 390-399.
DOH กรมอานามัย. (2565). ประชากรทะเบียนราษฎร์ จำแนกรายเพศ ปีงบประมาณ 2565. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2565, จาก http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/?year=2022
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.