การจัดการกระบวนการปราบปรามยาเสพติดยุคใหม่ไทยในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการกระบวนการปราบปรามยาเสพติดยุคใหม่ไทยในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาแนวทางของการจัดการกระบวนการปราบปรามยาเสพติดยุคใหม่ไทยในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการกระบวนการปราบปรามยาเสพติดยุคใหม่ไทยในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า น้ำหนักเฉลี่ยด้านสังคมทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.16 ค่า S.D. เท่ากับ 0.91 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านการสอดส่องและด้านการจัดระเบียบเป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะเดียวกันด้านการผลักดันมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง
น้ำหนักเฉลี่ยด้านการป้องกัน ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.07 ค่า S.D. เท่ากับ 0.89 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านการสนับสนุนและด้านการประสานงานเป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะเดียวกันด้านการดำเนินการมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง
ระดับการจัดการกระบวนการปราบปรามยาเสพติดยุคใหม่มีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.20 ค่า S.D. เท่ากับ 0.88 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านการแก้ไขปัญหามีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านผลกระทบแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ด้านการประเมินผลแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก และด้านประสิทธิภาพแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ส่วนด้านกฎหมายมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
ธนาคม มาตวิจิตร์ และนิตยา สินเธาว์. (2563). ประสิทธิผลของการนานโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของจังหวัดราชบุรี. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 4(2), 115-126.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ), 624-634.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ของเชื้อไวรัส COVID-19. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 10(2), 509-522.
ภัทรวดี ใยน้อย และบุญอนันต์ บุญสนธิ์. (2562). การขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชนไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ “การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์” ครั้งที่ 3. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศศิวิมล คำเมือง และคณะ. (2565). นโยบายสาธารณะด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของประเทศไทย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(2), 409-420.
ศักดิ์ หมู่ธิมา และบุญเอื้อ บุญฤทธิ์. (2562). การจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติดในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตสวนหลวง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี,13(2), 11-25.
DOH กรมอานามัย. (2565). ประชากรทะเบียนราษฎร์ จำแนกรายเพศ ปีงบประมาณ 2565. สืบค้นวันที่ 24 กรกฎาคม 2565, จาก http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/?year=2022
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.