ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิก บริษัท บาร์เทอร์คาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด สาขาทองหล่อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการ
การสนับสนุนทางธุรกิจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกบริษัท บาร์เทอร์คาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด สาขาทองหล่อ 2. เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไปของสมาชิกสาขาทองหล่อ
ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกบริษัท บาร์เทอร์คาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด สาขาทองหล่อ 3. เพื่อเสนอแนะปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกของบริษัท บาร์เทอร์การ์ด (ประเทศไทย) จำกัด สาขาทองหล่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สมาชิกสาขาทองหล่อ จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า
- น้ำหนักปัจจัยเฉลี่ยคุณภาพการให้บริการทั้ง 4 ด้าน เท่ากับ 3.14 ค่า S.D. เท่ากับ 0.96 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ปัจจัยความเป็นรูปธรรมของบริการ ปัจจัยความเชื่อถือไว้วางใจได้ และปัจจัยการตอบสนองต่อลูกค้า เป็นปัจจัยที่มีน้ำหนักปัจจัยเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก โดยมีค่าระดับเฉลี่ยเท่ากับ 3.19, 3.17 และ 3.15 ทั้งหมดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก มีค่า S.D. เท่ากับ 1.03, 0.94 และ 0.92 ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ปัจจัยความรวดเร็ว มีน้ำหนักปัจจัยเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 3.05 ค่า S.D. เท่ากับ 0.95 ซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง
- น้ำหนักปัจจัยเฉลี่ยด้านการสนับสนุนทางธุรกิจ 3 ด้าน เท่ากับ 3.14 ค่า S.D. เท่ากับ 0.85 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ปัจจัยการส่งเสริมเงินทุนหมุนเวียน และปัจจัยความสะดวกสบาย เป็นปัจจัยที่มีน้ำหนักปัจจัยเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรก โดยมีค่าระดับเฉลี่ยเท่ากับ 3.19 และ 3.14 ทั้งหมดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก มีค่า S.D. เท่ากับ 0.84 และ 0.89 ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ปัจจัยการส่งเสริมเครือข่ายธุรกิจ มีน้ำหนักปัจจัยเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 3.09 ค่า S.D. เท่ากับ 0.83 ซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง
- ระดับการตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกมีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.06 ค่า S.D. เท่ากับ 0.90 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ความปลอดภัย มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 3.14
มีค่า S.D. เท่ากับ 0.82 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ การรู้จักและเข้าใจลูกค้า มีน้ำหนักเฉลี่ย เท่ากับ 3.12 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.94 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก การสื่อสาร มีน้ำหนักเฉลี่ย เท่ากับ 3.10 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.83 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง และการบรรลุความต้องการ
มีน้ำหนักเฉลี่ย 3.09 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.96 ตามลำดับ ส่วนเศรษฐกิจมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ เท่ากับ 2.89 มีค่า S.D. เท่ากับ 0.96 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กษิดิศ พชระเศรณี. (2560). รูปแบบการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจของรัฐบาลไทย โดยใช้ระบบแลกเปลี่ยนสินค้า. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 3(2), 149-162.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สามลดา.
เกรียงไกร นามนัย. (2562). ศักยภาพในการบริหารต้นทุนและการวางแผนกำไรที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดมหาสารคาม (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ณัฐวุฒิ วิเศษ. (2560). ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จังหวัดนนทบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(1),13-24.
บาร์เทอร์คาร์ด. (2564). คำถามที่พบบ่อย. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565, จาก https://www.bartercard.co.th/
สรฑัต ศรีวิชชพงษ์ และดารณี เอื้อชนะจิต. (2564). การบริหารสภาพคล่องที่ส่งผลต่อความเติบโตของกิจการของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11) 232-243.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.