พุทธจิตวิทยากับการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีจิตสาธารณะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
จิตสาธารณะเป็นคุณลักษณะทางคุณธรรมจริยธรรมที่บุคคลพึงมี เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคมด้วยความเต็มใจ เรียกว่าการเป็นผู้มี "จิตสาธารณะ" การเป็นผู้มีจิตสาธารณะ จะต้องฝึกฝนเพื่อพัฒนาตนเอง ทำให้จิตอยู่บนหลักของพุทธจิตวิทยา ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางสติสัมปชัญญะให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมกัน และต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเกิดการเรียนรู้ เกิดการฝึกฝน จนสามารถตระหนักรู้ด้วยตัวเอง และเมื่อเจอกับเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดแล้วเกิดภาวะความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ อยากช่วยเหลือโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จึงถือว่าผู้นั้นมีภาวะผู้มีจิตสาธรณะแล้ว โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมเพื่อพัฒนาตนเองให้มีจิตสาธารณะ ในเบื้องต้นต้องพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมตามหลัก หลักอริยสัจ 4 หลักอิทัปปัจจยตา และหลักไตรลักษณ์ มาพัฒนาและสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า หากผู้สังคมใดมีสมาชิกที่พัฒนาจิตสาธารณะที่เป็นไปตามหลักธรรมดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งตนเอง ผู้อื่น และสังคม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
จุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์. (มปป). เอกสารประกอบวิชาธรรมภิบาลและจิตสำนึกสาธารณะ. เชียงใหม่: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พีรพัฒน์ พันศิริ และศานติกร พินยงค์. (2559). จิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
มนูญพงศ์ ชัยพันธุ์, สุดใจ เขียนภักดี และอนุสรณ์ นามประดิษฐ์ (2565). จิตสาธารณะกับวิถีชีวิตของบุคคลในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(2), 63-78.
อัญชลี ยิ่งรักพันธ์. (2560). ผลการใช้สถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริงเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2558). Altruism. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2567, จาก https://anthropology-concepts.sac.or.th/glossary/
ภิรมย์ เข็มพุดซา. (2555). จิตสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2567, จาก https://www.gotoknow.org/ posts/354737