ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สุวิมล สาระพัด
ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี จำนวน 331 คนใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโรงเรียน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNI Modified)


ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านพัฒนาตนเองควบคู่กับทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต รองลงมา คือ ด้านวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ต่ำที่สุด คือ ด้านจัดลำดับความสำคัญของงานได้ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ มีความเป็นตัวของตัวเองในการสร้างสรรค์และมีอิสระในการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ จัดการเวลาและอารมณ์ในการทำงานได้ดี และต่ำที่สุด คือ ใช้เหตุผลและความคิดเชิงบวกในการตัดสินเพื่อแก้ปัญหา และ 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านทักษะชีวิตและการทำงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ตามลำดับ ข้อเสนอแนะการวิจัยนำข้อมูลการวัดและประเมินผลรวมถึงการพัฒนาทักษะของครูให้สอดคล้องกับความต้องการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

Article Details

How to Cite
สาระพัด ส., & มหาสินไพศาล ท. (2025). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี. วารสาร ปัญญาลิขิต, 4(1), 29–45. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/1499
บท
บทความวิจัย

References

กมลพร เพชรกาฬ. (2564). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). ทักษะสำคัญจำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหว่านกราฟฟิค.

ประภัสสร ไชยชนะใหญ่ และวุฒิภัทร มูลศรี. (2562). บทบาทครู: การพัฒนาการเรียนรู้ภายใต้สังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง. วารสาร มจร. หริภุญชัยปริทรรศน์, 3(1), 41-50.

ปรีชา นาราศรี (2564) แนวทางการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พจนีย์ มั่งคั่ง. (2563). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ของครูโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 1.วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 22(1), 116-132.

พัชรินทรมีศิริ และกาญจนา บุญสง. (2562). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10.วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 21(1), 162-163.

รัฐนันท์ วันทอง และมิตภาณี พุ่มกล่อม. (2563). แนวทางการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์,6(3), 545-560.

ลัดดาวัลย์ สะดิ้ง. (2563). แนวทางการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

วรลักษณ์ คําหว่าง. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 6(1), 129-138.

สุวพิชญ์ คุณวิสิฐสิริ. (2561). การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(69), 109-120.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2562). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills). สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2567, จาก https://ww.trueplookpanya.com/blog/content/66054/-teaartedu-teaart-teaarttea-

อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ Veridian E-Journalฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 1382.

อัครเดช นีละโยธิน. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย.

อัจศรา ประเสริฐสิน, เทพสุดา จิวตระกูล และ จอย ทองกล่อมศรี (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัยของครู. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 79-89.

ฮิวจ์ เดลาน. (2562). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2567, จาก https://www.unicef.org/thailand/th/stories/การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21

kay, K. (2012). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Panich, W. (2012). The way to create learning for students in the 21st century. Bangkok: Tathata publication limited.